ลงมือสู้โกง : ถ้าเราเท่าเทียม เราจะเท่าทัน: เพราะเรื่องเพศมีผลต่อคอร์รัปชัน

“ความเท่าเทียมทางเพศ” คงเป็นคำที่ใครหลายๆ คนเคยได้ยิน และอาจพบเห็นมากขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองให้แก่ความภาคภูมิใจในตัวตน รำลึกถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ และการสร้างสังคมที่ไม่เลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ความเท่าเทียมได้เกิดขึ้นจริงในสังคมแล้วหรือไม่ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการทุจริตอย่างไร ทำไมถึงทำให้การคอร์รัปชันรุนแรงขึ้นผู้เขียนจะขอพาทุกคนไปสำรวจมิติทางเพศที่แสนจะ “สำคัญ” แต่อาจถูก “ละเลย” ออกไปจากปัญหาการคอร์รัปชัน

แม้หลายคนจะรู้จักคำว่า “ความเท่าเทียมทางเพศ” แต่ความเข้าใจยังคงแตกต่างกันไป บ้างก็เข้าใจว่ามันคือการได้รับสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน บ้างก็ว่าคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ทุกคน หากแต่ความเข้าใจของผู้เขียนคือ การที่บุคคลได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในทุกมิติโดยไร้อคติทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการทำงาน การเข้าถึงบริการสาธารณสุข หรือการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีความพยายามสร้างความเท่าเทียมผ่านกระบวนการต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง และมีการออกพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมนี้ได้จากบทบัญญัติที่ไม่ระบุคำว่าเพศภาวะ (Gender) หรืออัตลักษณ์ทางเพศ (Genderidentity) ที่อาจส่งผลต่อการตีความกฎหมาย รวมถึงบทลงโทษที่ไม่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจน ที่อาจทำให้ความเท่าเทียมยังไม่เกิดขึ้นกับสังคมไทย

หากมองในมิติของการคอร์รัปชัน งานวิจัยหลายๆ ชิ้น ระบุว่า ผู้หญิงมีโอกาสที่จะทำการทุจริตน้อยกว่าผู้ชาย แต่หากมีอำนาจและโอกาสมากพอก็มีโอกาสที่จะทุจริตเท่าๆ กัน โดยงานวิจัยของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ระบุว่า ไม่ว่าเพศใดก็มีแนวโน้มทุจริตได้เท่าๆ กันขึ้นอยู่กับบริบทและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ

แต่ก็ต้องยอมรับว่า อำนาจในการกำหนดทิศทางของประเทศหรือการบริหารงานภาครัฐส่วนใหญ่มักตกอยู่ในมือของ “ผู้ชาย” จึงไม่แปลกที่จะเกิดภาพจำว่า “ผู้ชาย” มักจะโกงมากกว่าผู้หญิง ประกอบกับงานวิจัยอีกหลายส่วนที่ระบุว่า สัดส่วนของผู้หญิงในองค์กรที่มากขึ้น มีแนวโน้มที่จะทำให้การทุจริตลดลง โดยผู้เขียนมีความเห็นว่า หนึ่งในสาเหตุที่ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศมีแนวโน้มที่จะทุจริตน้อยกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะบทลงโทษที่เกิดขึ้นกับพวกเขาอาจรุนแรงกว่าผู้ชายมาก ภาพของสังคมที่ยังมองทุกคนไม่เท่ากันทำให้เกิดความคาดหวังต่อคนแต่ละเพศไม่เท่ากันเพศหญิงยังคงถูกคาดหวังให้เป็นเพศอ่อนโยน มีความเห็นอกเห็นใจ เพศหลากหลายก็ยังถูกคาดหวังให้กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น มีความสนุกสนาน และทั้งสองเพศยังคงถูกกดดันและคาดหวังให้ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างโอกาสทางสังคมที่เท่าเทียมกับเพศชาย ความคาดหวังเหล่านี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเพศที่สร้างภาพจำว่า ปัญหาคอร์รัปชันนั้นเกิดจากเพศชายมากกว่าเพศอื่นๆ ซึ่งอาจไม่เป็นเช่นนั้นหากทุกเพศมีความเท่าเทียมกัน

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้ทุกคนเห็นภาพง่ายขึ้น จากกรณีที่ “ครูเคท” ถูกคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยตัดสินว่าไม่สมควรว่าจ้าง เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่ครูเคทได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์มติจนนำมาสู่การยื่นฟ้องศาลปกครอง และชนะคดีในเวลาต่อมา ทั้งนี้ หลายคนอาจมองว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเพศ แต่หากลองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่ครูเพศชายกระทำความผิดต่างๆ แต่กลับมีบทลงโทษเป็นการย้ายสถานศึกษา หรือการบอกเลิกสัญญา อีกทั้งภาพจำของสังคมยังจดจำและตอกย้ำความผิดพลาดของเพศหญิงและเพศหลากหลายเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานกว่าเพศชายมาก

จากข้อมูลข้างต้นและบริบทของสังคมไทยผู้เขียนขอชวนทุกคนมาย้อนคิดไปพร้อมๆ กันทีละขั้นตอนเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมการ “ละเลย” มิติทางเพศจะทำให้ปัญหาคอร์รัปชันรุนแรงขึ้น เริ่มจากความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ถูกตีความต่างกันออกไป ทำให้การออกระเบียบและกฎหมายไม่เป็นไปอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยระบอบ “ชายเป็นใหญ่”ที่ผู้มีอำนาจส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพศชาย แม้จะมีงานวิจัยต่างๆ ที่พบว่าสัดส่วนของผู้หญิงที่มากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มในการทุจริตลดลง แต่หากมีโอกาสและอำนาจมากพอก็มีแนวโน้มที่จะทุจริตเท่าๆ กัน แม้จะมีความพยายามในการสร้างความเท่าเทียมอยู่บ่อยครั้ง แต่ภาพจำและความคาดหวังของสังคมก็ยังคงผูกรัดกับเรื่อง “เพศ”อย่างเหนียวแน่น สิ่งเหล่านี้ทำให้การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันขาดมิติทางเพศไป ความเข้าใจอย่างไม่ทั่วถึงนี้กำลังเกิดขึ้นในสังคมของเรา โดยผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะโจมตีพยายามที่เกิดขึ้น แต่อยากชวนให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของเพศและการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันที่เชื่อมโยงผ่านบรรทัดฐานและวัฒนธรรมของสังคม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสังคมที่เรา “เท่าเทียม” กันในทุกมิติ ไม่เว้นแม้กระทั่งการแก้ไขปัญหา “คอร์รัปชัน”

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่า “ความเท่าเทียมจะเบ่งบาน คอร์รัปชันจะร่วงโรยไป”

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

วสุพล ยอดเกตุ

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เวทีต้านโกงระดับโลก เขาพูดคุยอะไรกัน

4 ประเด็นน่าสนใจจาก “Summit for Democracy 2023” การประชุมระดับโลกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา HAND Social Enterprise HANDSocialEnterprise ได้รับเชิญจากรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปร่วมเสวนาในงาน Summit for Democracy 2023 หัวข้อหลักงานปีนี้คือ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” เชื่อมโยงคำอธิบายว่า การคอร์รัปชันบ่อนทำลายประชาธิปไตย ในทางกลับกันประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งจะทำให้คอร์รัปชันสูงขึ้น

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เปิดตัว KRAC ศูนย์ความรู้ต้านโกง

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ถ้าไม่แก้ไขทุกมิติอย่างครอบคลุมผลที่ตามมาอาจกลายเป็นเพิ่มปัญหาให้สังคมได้ จึงต้องใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือการใช้ความรู้ทางวิชาการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงได้ร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้ง “ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค” (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration: KRAC) ขึ้น เมื่อ 24 เมษายนที่ผ่านมา

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สื่อสารต้านโกงอย่างไร ถึงได้ผล

ในหลายๆ ครั้งที่ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับผู้ฟังซึ่งเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ข้อแนะนำหนึ่งที่มักจะได้มาคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสื่อสาร นำเสนอเรื่องราวของผลกระทบจากการคอร์รัปชันที่รุนแรง เพื่อให้สังคมหวาดกลัวการคอร์รัปชันและรังเกียจคนคอร์รัปชัน เป็นการใช้พลังสังคมเพื่อกดดันให้ “คนโกงไม่มีที่ยืนในสังคม”

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น