วัฒนธรรมความไว้วางใจกับจริยธรรมของข้าราชการไทย

ศึกษาระดับความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อจริยธรรมความซื่อสัตย์ของข้าราชการ และศึกษาสาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อความไว้วางใจ เพื่อเสนอมาตรการที่ส่งเสริมจริยธรรมและวัฒนธรรมความไว้วางใจ

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งศึกษาระดับความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อศีลธรรม ความซื่อสัตย์ของข้าราชการ และศึกษาสาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อความไว้วางใจ เพื่อนำเสนอมาตรการที่ส่งเสริมจริยธรรมและวัฒนธรรมความไว้วางใจ

โดยใช้วิธีการวิจัยเเบบผสมผสาน ได้เเก่ การจัดทำแบบสอบถามกับประชาชน 13 กลุ่มอาชีพ จำนวน 2,665 คน ได้แก่ กลุ่มข้าราชการการเมือง กลุ่มข้าราชการประจำ กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชน กลุ่มพนักงานเอกชน กลุ่มนักสื่อสารมวลชน กลุ่มผู้ประกอบการค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้มีอาชีพรับจ้าง กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา กลุ่มเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และกลุ่มอาชีพอื่น ๆ จากทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบผสมผสานวิธี (multi-stage sampling technique) นอกจากนี้ ยังใช้การสัมภาษณ์ประชากรเป้าหมายจำนวน 390 ราย โดยอาศัยวิธีการสุ่มเลือก (random sampling technique)

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษาเรื่องความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อจริยธรรมความซื่อสัตย์ของข้าราชการประจำ พบว่าความไว้วางใจ และการรับรู้จริยธรรมความซื่อสัตย์ของข้าราชการ อยู่ที่ระดับปานกลาง ในส่วนของพฤติกรรมประจำวันที่สะท้อนความซื่อสัตย์ข้าราชการ อยู่ต่ำกว่าพฤติกรรมที่ประชาชนคาดหวัง โดยพฤติกรรมที่สะท้อนความซื่อสัตย์ของข้าราชการ กับ พฤติกรรมที่อยู่ในความคาดหวังของประชาชน ได้เเก่ (1) ต้องการให้พฤติกรรมของข้าราชการตอบสนองเป้าหมายของหน่วยงาน (2) ต้องการให้การบริการสาธารณะประจำวันของข้าราชการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น (3) พลเมืองรับรู้ถึงการปฏิบัติด้วยความไม่เท่าเทียมกันตามพื้นฐานของกฎหมายและความยุติธรรม (4) ต้องการให้ข้าราชการใช้ทรัพยากรสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสม และ (5) ต้องการให้กระบวนการตัดสินใจในการดำเนินงาน เป็นไปอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบอย่างละเอียด และทำการปรับปรุงให้ถูกต้องได้   

  • ผลการศึกษา ชี้ว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมวัฒนธรรมความไว้วางใจในสังคมไทย ได้แก่ (1) คุณค่าความซื่อสัตย์ (2) ผู้นำที่มีจริยธรรม (3) คุณค่าข้าราชการ และความเป็นมืออาชีพ (4) อุดมการณ์ในการบริการสาธารณะ (5) ความไว้วางใจในระบบราชการ (6) คุณค่าประชาธิปไตย และการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมโดยไม่แบ่งแยก และ (7) การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล
  • ข้อเสนอแนะด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ความซื่อสัตย์ของข้าราชการประจำ เพื่อสร้างวัฒนธรรมความไว้วางใจ คือ การใช้มาตรการด้านศีลธรรมความซื่อสัตย์ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ประกอบด้วย การไม่คอร์รัปชัน การรักษาผลประโยชน์สาธารณะและความยุติธรรม ความโปร่งใส ความพร้อมรับผิด การเคารพคุณค่าศักดิ์ศรีและความแตกต่างของบุคคล การยึดมั่นกับสิ่งที่ดีเลิศ และการธำรงรักษาความไว้วางใจสาธารณะ
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2557). วัฒนธรรมความไว้วางใจกับจริยธรรมของข้าราชการไทย. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 7(2), 63-84.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง

ชนิดา จิตตรุทธะ

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น