สู่ความชัดเจนในระเบียบธรรมาภิบาล: ประเด็นสืบเนื่องจากกรณีการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น

มุ่งศึกษากฎหมายของไทย ผลของการบังคับใช้กฎหมาย เเละเเนวปฎิบัติที่ดีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอเเนะของไทย เช่น การประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย

แม้ประเทศไทยจะมีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็มีนโยบายจำกัดสิทธิของบริษัทต่างชาติในการเข้ามาประกอบกิจการบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ศิลปะวัฒนธรรมจารีตประเพณี หรือธุรกิจที่ต้องการให้การคุ้มครองผู้ประกอบการในประเทศที่ยังไม่พร้อมแข่งขันกับต่างชาติ

งานชิ้นนี้ จึงมุ่งศึกษากฎหมายของประเทศไทย ผลของการบังคับใช้กฎหมาย เเละเเนวปฎิบัติที่ดีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอเเนะของประเทศไทย โดยในรายงานประกอบด้วย 3 หัวข้อ ได้เเก่

  1. การประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย : ช่องโหว่ของกฎหมาย หรือความบกพร่องในการออกกฎหมาย มุ่งศึกษาวิธีการพิจารณาสัญชาติของนิติบุคคลว่าเป็นบริษัทไทย หรือบริษัทต่างชาติ โดยศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิของผู้ลงทุนต่างชาติในการประกอบกิจการ ผลของการบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ แนวทางการพิจารณาสัญชาติของบริษัทต่างชาติ จากกรณีศึกษาของต่างประเทศ และนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะของไทยต่อไป
  2. นอมีนี (nominee) การใช้ตัวเเทนถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : มุ่งศึกษาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับนอมินีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ประเภทของนอมินี กลไกทางกฎหมายของไทยที่ใช้กำกับดูแลนอมินี การประเมินสัดส่วนการใช้นอมินี เเละนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของไทยต่อไป
  3. ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากความไม่ชัดเจนของหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีต่อพฤติกรรมการเลี่ยงภาษี : กรณีตัวอย่างของการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น มุ่งศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลี่ยงภาษี โดยพิจารณาจากกรณีตัวอย่างการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่นกับความไม่ชัดเจนของกรมสรรพากร พฤติกรรมเลี่ยงภาษีของผู้เสียภาษี ผลกระทบต่อหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี และผู้เสียภาษี และนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอเเนะในการดำเนินการของไทยต่อไป

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • จากผลการศึกษาเรื่อง “การประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย : ช่องโหว่ของกฎหมาย หรือความบกพร่องในการออกกฎหมาย” คณะผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ควรทบทวนรายชื่อธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาประกอบธุรกิจในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อย่างจริงจัง โดยเฉพาะบัญชี 3 (21) ที่ห้ามชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในทุกสาขาบริการโดยไม่มีการพิจารณาความเหมาะสม ทั้งนี้ ควรมีการกำหนดเป็นรายสาขาบริการว่าควรคุ้มครองสาขาใด และเพราะเหตุใด (2) ควรทบทวนกฎหมายทุกฉบับที่จำกัดสิทธิของคนต่างด้าวในการประกอบกิจการ  (3) ควรทบทวนบทบัญญัติของกฎหมายทุกฉบับที่ให้การคุ้มครองผู้ประกอบการในประเทศ สำหรับข้อเสนอในระยะสั้น ควรมีการตรวจสอบการถือหุ้นผ่านนอมินีในธุรกิจบริการที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างชัดเจน เช่น ธุรกิจบาร์เบียร์ในย่านพัทยา หรือธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอันมีจำกัด และอาจมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่อนุรักษ์

  • จากผลการศึกษาเรื่อง “นอมีนี (nominee) การใช้ตัวเเทนถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” คณะผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบาย ควรผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่ตอบสนองต่อสภาพความเป็นจริงของปัญหาเรื่องนอมินี โดยสนับสนุนให้ (1) สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลางเปิดเผยรายชื่อลูกค้าที่แท้จริงต่อ ก.ล.ต. ทุกสิ้นเดือน (2) ให้ผู้ถือหุ้นเกิน 5% ทุกราย ต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงต่อสาธารณะ (3) ให้สถาบันการเงินร่วมรับผิด เมื่อพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้นอมินีเพื่อทุจริตในตลาดหลักทรัพย์ฯ (4) ให้นอมินีร่วมรับผิดชอบทุกกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าผู้ถือหุ้นที่แท้จริง ใช้นอมินีทำผิดกฎหมาย และ (5) ให้มีการพิจารณาแก้ไขนิยามของ “บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน” ตามมาตรา 258  ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ครอบคลุมนอมินี และผู้ถือหุ้นที่แท้จริงด้วย

  • จากผลการศึกษาเรื่อง “ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากความไม่ชัดเจนของหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีต่อพฤติกรรมการเลี่ยงภาษี : กรณีตัวอย่างของการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น” พบว่าผู้เสียภาษีจะเลี่ยงภาษีมากขึ้น หรือน้อยลง เนื่องจากปัจจัย ดังนี้ (1) ความน่าจะเป็นในการถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี (2) อัตราโทษที่กำหนดสำหรับการเลี่ยงภาษี (3) ต้นทุนในการเลี่ยงภาษี และ (4) รายได้ของผู้เสียภาษี ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมาย ไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่ารายได้ประเภทใดต้องเสียภาษีเท่าใด หน่วยงานจัดเก็บภาษีในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมาย จึงจำเป็นต้องตีความกฎหมาย ซึ่งอำนาจในการตีความนี้ ย่อมก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งส่งผลให้ผู้เสียภาษีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนในทางที่พยายามเลี่ยงภาษีมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแก้ไขประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนขึ้น เพื่อลดปัญหาการตีความกฎหมายของหน่วยงานที่มีอำนาจ

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2550). รายงานทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 42 เดือนมกราคม 2550 (ฉบับพิเศษ) เรื่อง สู่ความชัดเจนในระเบียบธรรมาภิบาล: ประเด็นสืบเนื่องจากกรณีการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2550
ผู้แต่ง
  • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น