เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเด่น ๆ ที่เห็นได้ชัดในช่วงระลอกแรกของการระบาดโควิด-19 เมื่อปีที่ผ่านมาคือการใช้ Open Data มาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับสถานที่เสี่ยง และข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพื่อการป้องกันโรคอย่าง หน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ ว่าร้านขายยาร้านไหนยังมีของอยู่บ้าง เพื่อป้องกันการรวมตัวกันของประชาชน และดูเหมือนการใช้ข้อมูลมากประยุกต์ในครั้งนั้นก็ได้ผลดีมากทีเดียว เพราะการป้องกันการระบาดของโรคระลอกแรกอย่างรวดเร็วและเห็นผล ทำให้ไต้หวันกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ไม่ต้องล็อกดาวน์ในปี 2020

จริง ๆ แล้วไต้หวันยังมีแพลตฟอร์ม Open Data อื่น ๆ อีกมากมาย แต่ที่พวกเรายกมาพูดถึงในวันนี้คือ แพลตฟอร์ม JOIN ที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

JOIN เปิดให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นของตัวเองต่อสิ่งที่ภาครัฐทำ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ หรือจะเสนอโครงการที่ตัวเองอยากให้ภาครัฐทำ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานส่วนกลางหรือหน่วยงานส่วนท้องถิ่นก็ได้ ตัวอย่างเช่น “ขอให้ขยายระยะเวลาเปิดใช้งานสนามเทนนิสสาธารณะจนถึง 4 ทุ่ม” หรือ “เสนอไอเดียให้ไถจงเป็นเมืองที่มีความเท่าเทียมทางเพศ” หลังจากมีการเสนอโครงการเข้ามาแล้วก็จะเปิดให้ประชาชนร่วมลงชื่อ หากโครงการนั้นมีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 5,000 รายชื่อ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องรับเรื่องไปพิจารณา และบอกผลการดำเนินการลงบนแพลตฟอร์มด้วย

ตามกฎหมายของไต้หวัน หากหน่วยงานรัฐได้รับข้อคิดเห็นจากประชาชนไปแล้วจะต้องเผยแพร่ข้อคิดเห็นนั้นให้สาธารณะและรับเรื่องเอาไว้เป็นเวลา 60 วัน ซึ่งแพลตฟอร์ม JOIN ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกันระหว่างภาครัฐและประชาชน ข้อคิดเห็นบางอย่าง เช่น “ขอให้ไม่ต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์แล้วเพราะยากมากๆ” หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มาอธิบายว่าเพราะอะไรถึงยังต้องมีการเรียนประวัติศาสตร์อยู่

นอกจากจะเป็นตัวกลางระหว่างภาครัฐและประชาชนแล้ว หัวข้อโครงการต่างๆ บน JOIN ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่าสังคมไต้หวัน ณ ช่วงเวลานั้นให้ความสำคัญหรือกังวลกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษ พื้นที่ใดมีปัญหาใดเป็นพิเศษ หรือหน่วยงานใดมีความเห็นต่อประเด็นสังคมว่าอย่างไรบ้าง

แล้วคุณล่ะ อยากเห็นประเทศไทยเปิดแพลตฟอร์มที่ทุกคนไปออกไอเดียเพื่อให้รัฐนำข้อมูลไปปฏิบัติจริง หรือมีไอเดียอื่นๆ ที่อยากเห็นการนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับประเทศบ้างไหม มาแลกเปลี่ยนกันในคอมเมนต์ด้านล่างได้เลย!

🚩 JOIN
ผู้จัดทำเครื่องมือ :รัฐบาลไต้หวัน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

USA spending.gov แหล่งข้อมูลเปิดสาธารณะ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรัฐได้ง่าย ๆ

จะดีแค่ไหนถ้าเรามีรัฐที่เปิดเผย เอาเงินไปใช้ทำอะไรก็ติดตามได้ง่ายไปหมด ไม่ต้องเสี่ยงทุจริตให้เป็นข้ออ้างมาทำรัฐประหารบ่อย ๆ

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ