แนวทางการประยุกต์มาตรการสากลเพื่อการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย

ศึกษาการประยุกต์มาตรการสากลในบริบทของประเทศไทย โดยพิจารณาในส่วนขององค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้กับการคอร์รัปชันของประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดของโลก ได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งเน้นการวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้กับการคอร์รัปชันในประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ามีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดของโลกและแถบเอเชีย ได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

จากวิธีการศึกษา ทำให้เห็นถึงแนวทางและวิธีการดำเนินการประยุกต์นำเอามาตรการสากลมาใช้ในประเทศไทยได้เป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่ มาตรการเชิงสนับสนุ มาตรการเชิงป้องกัน และ มาตรการเชิงปราบปราม โดยในแต่ละหมวด สามารถแบ่งได้เป็นหมวดของมาตรการย่อย ๆ ซึ่งแม้แต่ละมาตรการจะมีแนวทาง และการดำเนินงานที่เป็นของตัวเองในระดับหนึ่ง แต่ก็สามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มาตรการเหล่านี้ แม้จะนำมาจากมาตรการขององค์กรระหว่างประเทศ และจากกรณีศึกษาของประเทศที่มีการทุจริตต่ำ แต่ก็ได้ผ่านการวิเคราะห์ เพื่อที่จะนำมาใช้ในสังคมไทย โดยจะนำเสนอเป็นหลักเหตุผลของแนวทางและวิธีการดำเนินงานของมาตรการต่าง ๆ ต่อไป

ผลจากการศึกษาออกมาในลักษณะของข้อเสนอ 8 มาตรการ ดังนี้ (1) มาตรการการจัดทำการสำรวจทัศนคติ (2) มาตรการการศึกษาและฝึกอบรม (3) มาตรการสร้างเครือข่าย (4) มาตรการสร้างความโปร่งใสกับสื่อ (5) มาตรการปราบปรามแบบเชือดไก่ให้ลิงดู (6) มาตรการการคุ้มครองและให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแส (7) มาตรการการประมวลจริยธรรม  และ (8) มาตรการการป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2553) แนวทางการประยุกต์มาตรการสากลเพื่อการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2553
ผู้แต่ง

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น