โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะในการปรับใช้กับสังคมไทยต่อไป

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) ได้กำหนดเป้าหมายการบูรณาการความร่วมมือในสังคมไทยทุกภาคส่วน เพื่อร่วมต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันทางการศึกษา สถาบันวิชาชีพ สถาบันศาสนา และสถาบันสื่อมวลชน เพื่อเพิ่มคะแนนความโปร่งใสตามดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การทุจริตให้กับประเทศไทย โดยเป้าหมายดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางของสภาปฏิรูปแห่งชาติที่กำหนดให้องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว องค์การทางศึกษา องค์การทางศาสนา องค์การชุมชน องค์การธุรกิจ องค์การสื่อมวลชน และองค์การทางการเมืองการปกครอง ร่วมมือกันเพื่อปลูกฝังเจตคติ วัฒนธรรมความสุจริต และการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนออกจากผลประโยชน์สาธารณะ 

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมีเป้าหมายเพื่อสังเคราะห์แนวทางปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริต ด้วยแนวคิดวัฒนธรรมองค์การกับองค์การทางสังคม เพื่อนำไปใช้ในการปลูกฝังจิตสำนึก และวิธีคิดสุจริตที่เหมาะสมกับองค์การทางสังคมของประเทศไทย เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยได้รับการประเมินดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) สูงกว่าร้อยละ 50 โดยงานวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่ม การประชุมทางวิชาการและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าพัฒนาการของการปลูกฝังความสุจริตจากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2540-2562 พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2540-2550 การปลูกฝังความสุจริต มุ่งเน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน องค์การทางการศึกษา องค์การสื่อมวลชน องค์การวิชาชีพ องค์การเอกชน และองค์การสาธารณประโยชน์ และเครือข่ายต่าง ๆ  ในช่วงปี พ.ศ. 2551-2562 พบว่าการปลูกฝังความสุจริต มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการบริหารราชการให้โปร่งใสตามหลักธรรมภิบาล ร่วมกับการใช้มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการป้องกันการแทรกแซงจากนักการเมือง รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการป้องกัน และเฝ้าระวังการทุจริต โดยมีการพัฒนานวัตกรรมในการป้องกันการทุจริต
  • ผลจากการศึกษากรณีศึกษาของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐฟินแลนด์ มีประเด็นที่สามารถนำมาปรับใช้ เช่น องค์การที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยตรง มีการกำหนดโครงสร้างที่ชัดเจน และใช้ระบบการบริหารจัดการภายในหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ องค์การทางการเมืองการปกครอง ใช้กฎหมาย และเน้นการสร้างบรรทัดฐานทางด้านจริยธรรม และองค์การชุมชน เน้นการให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อเป็นกลไกการเฝ้าระวังและตรวจสอบการทุจริต เป็นต้น
  • ผลจากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์รูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริต พบประเด็นสำคัญ เช่น ครอบครัวต้องเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างปฏิสัมพันธ์ โดยมีกลไกบุคคล คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และใช้แนวทางการทำกิจกรรมในครอบครัว องค์การทางศาสนา มีรูปแบบการปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริตด้วยพระธรรมวินัย และหลักธรรมทางศาสนา โดยมีกลไกระดับบุคคล คือ เจ้าอาวาส และใช้การอบรมสั่งสอนหลักธรรมและกิจกรรมทางศาสนา องค์การชุมชน มีรูปแบบการปลูกฝังผ่านผู้นำชุมชนให้เป็นแบบอย่างให้สมาชิกชุมชน โดยมีกลไกบุคคล คือ ผู้นำและคณะกรรมการชุมชน และใช้การจัดทำธรรมนูญชุมชนในการปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริต และองค์การธุรกิจ ใช้หลักการบริหารองค์การอย่างโปร่งใส และมีบทลงโทษ โดยมีกลไก คือ หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ และนโยบายขององค์การ ตลอดจนการใช้กิจกรรมสร้างแรงจูงใจ และการยกย่องเชิดชูพนักงานที่มีความสุจริต
  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ได้เเก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ควรเป็นหน่วยงานหลักในการเผยแพร่คู่มือการปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริตให้กับองค์การทางสังคม เพื่อสร้างเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตในองค์การ และควรจัดตั้งกลไกคณะทำงาน 7 ชุด สำหรับการดำเนินการปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริตตามองค์การทางสังคมทั้ง 7 ประเภท โดยคณะทำงาน ควรประกอบด้วยบุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ช. และผู้แทนจากองค์การทางสังคม
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ธิฏิรัตน์ พิมลศรีล, ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี, นิติพล ธาระรูป, ณัฐวดี ลิ้มเลิศเจริญวนิช และธนันต์ ไพรเกษตร. (2563). โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • ธิฏิรัตน์ พิมลศรี
  • ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี
  • นิติพล ธาระรูป
  • ณัฐวดี ลิ้มเลิศเจริญวนิช
  • ธนันต์ ไพรเกษตร
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น