โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

แผนงานท้าทายไทย เรื่อง สังคมไทยไร้คอร์รัปชัน เป็นแผนงานวิจัยที่ได้รับอนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (ต่อเนื่องปี 2560-2561) เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน บนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ และสร้างความท้าทายใหม่ในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ พัฒนาระบบ และเครื่องมือใหม่ ๆ ในการป้องกัน และลดการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ ซึ่งจะเป็นกลไกหนุนเสริมการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันโดยหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระต่อไป

ผลการดำเนินงานของโครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ได้ใช้การวิจัยและพัฒนาเป็นครื่องมือสร้างการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

  1. การสร้างดัชนีบ่งชี้โอกาสการคอร์รัปชัน เพื่อสร้างความตื่นตัวของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่ เช่น โครงการย่อย Corruption Literacy เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจการคอร์รัปชันในมุมมองของคนไทย
  2. การพัฒนาต้นแบบและแนวทางขยายผลระบบบริหารจัดการที่ดี หรือธรรมภิบาลในพื้นที่ เช่น โครงการย่อยพื้นที่น่าน พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน ทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคอร์รัปชันไปโดยปริยาย
  3. การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน เช่น โครงการย่อย Behavioral Economics ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทดลองสามารถโกงได้ พบว่าหากเพิ่มระบบกำกับดูแลเข้าไปในห้องทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองมีการโกงลดลงอย่างเห็นได้ชัด นั่นหมายความว่า กระบวนการกำกับดูแลที่มีความชัดเจนสามารถลดการโกงได้

ความท้าทายของชุดโครงการนี้คือ “การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ พัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและต้านคอร์รัปชันในระดับพื้นที่” ซึ่งจะเป็นกลไกหนุนเสริมการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันโดยหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระ และจะช่วยเป็นกลไกสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประเทศไทยในการบรรลุยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 –2564)

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ให้นิยามของคอร์รัปชันว่า หมายถึง การที่นักการเมืองและข้าราชการยักยอกเงิน ซึ่งการให้ความหมายในลักษณะนี้เป็นการให้ความหมายที่แคบ ทำให้พฤติกรรมของบุคคลอื่นที่นอกเหนือไปจากนักการเมืองและข้าราชการได้หายไปจากบริบทนิยามของการคอร์รัปชันในมุมมองของคนไทย และการให้ความสำคัญกับการยักยอกเงินเพียงอย่างเดียว อาจทำให้การเอื้อประโยชน์ทางเครือข่าย และการใช้ทรัพย์สินสาธารณะในทางที่ผิดไม่ได้ถูกรวมเข้าไปด้วย
  • ผลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ พบว่าค่านิยมหลักในสังคมไทยที่ส่งเสริมให้การคอร์รัปชันยังคงอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ “น้ำใจ” และ “บุญคุณ” ทำให้การคอร์รัปชันในรูปแบบการช่วยเหลือพวกพ้อง หรือการช่วยเหลือคนในครอบครัวในทางที่ผิด ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มากในการนิยามว่าเป็นการคอร์รัปชัน
  • จากผลการวิจัยชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่กรุงเทพมหานคร น่าน และนครราชีสมา พบว่า ลักษณะของประชากรในพื้นที่ชุมชนเมืองค่อนข้างมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับคอร์รัปชัน และกระบวนการทำงบประมาณที่ดีพอสมควร แต่การรวมกลุ่ม หรือต่อสู้กับการคอร์รัปชันในพื้นที่เมืองมีอุปสรรคด้านค่าเสียโอกาสของการใช้เวลา เพื่อการต่อสู้กับคอร์รัปชันค่อนข้างสูง ในขณะที่ชุมชนชนบท แม้มีความรู้เรื่องคอร์รัปชันน้อยกว่า แต่มีความเข้มแข็งในกระบวนการรวมกลุ่มมากกว่า โดยเฉพาะการต่อสู้ในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ดี การเป็นประชากรพื้นถิ่น ซึ่งอยู่กันด้วยสายสัมพันธ์ที่ดีและเคารพในกันและกัน ก็เป็นอุปสรรคในการตรวจสอบเรื่องคอร์รัปชันในชุมชนเช่นกัน
  • ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน จำนวน 20 คน พบว่า ส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจเข้ามาทำงานคอร์รัปชัน เนื่องจากมีความเจ็บปวดที่เกิดจากตนเอง หรือความเจ็บปวดที่ได้เห็นคนอื่นถูกรังแก จึงตัดสินใจเข้ามาทำงานต่อต้านคอร์รัปชัน โดยมักจะเริ่มจากการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ ให้ประสบความสำเร็จเสียก่อน จึงจะขยายต่อมาเป็นเรื่องที่ใหญ่ขึ้น จนมีประสบการณ์ และมีความกล้าในการต่อสู้มากขึ้น ดังนั้น การสนับสนุนให้คนต่อสู้กับคอร์รัปชันในเรื่องเล็ก ๆ และเอาชนะให้ได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างคนที่จะต่อสู้กับคอร์รัปชันในภาพใหญ่ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ธานี ชัยวัฒน์, เขมรัฐ เถลิงศรี, เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู, ต่อภัสสร์ ยมนาค, พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม, สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน, ธัชไท กีรติพงศ์ไพบูลย์, สวรัย บุณยมานนท์, กิริยา กุลกลการ, ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ นวลน้อย ตรีรัตน์ (2561). โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • ธานี ชัยวัฒน์
  • เขมรัฐ เถลิงศรี
  • เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู
  • ต่อภัสสร์ ยมนาค
  • พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
  • สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน
  • ธัชไท กีรติพงศ์ไพบูลย์
  • สวรัย บุณยมานนท์
  • กิริยา กุลกลการ
  • ผาสุก พงษ์ไพจิตร
  • นวลน้อย ตรีรัตน์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น