ศึกษาถึงวิธีการจัดทำงบประมาณ และระบบรายงานข้อมูลทางการเงินการคลังของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงวิธีการจัดทำงบประมาณของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความโปร่งใสในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่ง โดยความโปร่งใสจะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้องของประชาชนในการเลือกสนับสนุน หรือไม่ให้การสนับสนุนผู้แทนในการเข้าไปทำหน้าที่เป็นรัฐบาล เนื่องจากจะช่วยให้ประชาชนรับรู้ถึงผลประโยชน์ที่พวกเขาได้รับ และต้นทุนที่สูญเสียไปจากการทำงานของรัฐบาลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน นอกจากนี้ ยังสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของรัฐบาลต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกตั้งผู้แทนในครั้งถัดไปได้
ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัย จึงต้องการศึกษาถึงวิธีการงบประมาณและระบบรายงานข้อมูลทางการเงิน การคลังของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางปรับปรุงวิธีการงบประมาณของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นเรื่องความโปร่งใสของการดำเนินนโยบายการคลัง และนโยบายกึ่งการคลังของรัฐบาลเป็นหลัก
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
- ผลการศึกษา พบว่าในส่วนของการประเมินความโปร่งใสทางการคลัง รัฐบาลมีความพยายามที่จะเสริมสร้างความโปร่งใสทางการคลังของไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการปรับปรุงวิธีการงบประมาณ และการจัดทำเอกสารงบประมาณ เช่น การออกข้อกำหนดในการประเมินผลกองทุนนอกงบประมาณ การกำหนดหลักการจำแนกบัญชี การดำเนินธุรกรรมตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำกับดูแลและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ดี การปรับปรุงองค์ประกอบในการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมตามแนวทางที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความโปร่งใสขององค์กรระหว่างประเทศ จะยิ่งช่วยเสริมสร้างความโปร่งใสทางการคลังของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มรายงานทางการคลังและข้อมูลด้านงบประมาณให้มีความครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทุกรูปแบบ และการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นอิสระจากรัฐบาล ในการวิเคราะห์การจัดทำงบประมาณของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐรูปแบบอื่น ๆ
- ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ทางกฎหมายในการใช้เงินในระบบงบประมาณ เงินกู้นอกงบประมาณ และการใช้เงินคงคลัง อันเกิดจากลักษณะเฉพาะของปัจจัยเชิงสถาบันของประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการปฏิรูปกฎหมายการคลังที่เกี่ยวข้อง และคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในอนาคต
- ผลการศึกษา ชี้ว่าการปรับปรุงหรือปฏิรูปปัจจัยเชิงสถาบันจะเกิดขึ้นได้จริงมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 4 ประการ ได้เเก่ (1) ความจริงใจและแรงผลักดันจากรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ (2) ความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมจากองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ (3) สมรรถนะของรัฐ และ (4) ทิศทางของการปฏิรูปที่เกิดขึ้น
ภาวิน ศิริประภานุกูล, อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล, ฐิติมา ชูเชิด, สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข, ศาสตรา สุดสวาสดิ์, พิสิทธิ์ พัวพันธ์, ประสพโชค มั่งสวัสดิ์, กนต์ธีร์ นุชสุวรรณ, ฐิติเทพ สิทธิยศ และอธิภัทร มุทิตาเจริญ. (2560). การปฏิรูประบบงบประมาณเพื่อเพิ่มความโปร่งใสให้กับการดำเนินนโยบายกึ่งการคลัง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
- ภาวิน ศิริประภานุกูล
- อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล
- ฐิติมา ชูเชิด
- สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข
- ศาสตรา สุดสวาสดิ์
- พิสิทธิ์ พัวพันธ์
- ประสพโชค มั่งสวัสดิ์
- กนต์ธีร์ นุชสุวรรณ
- ฐิติเทพ สิทธิยศ
ระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
ศึกษาระบบการตรวจสอบการเงิน การคลัง บัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน
บทความวิจัย : กระบวนการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา
การศึกษาสาเหตุและกระบวนการของการเกิดการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่ค้นพบ
การปฏิรูประบบงบประมาณเพื่อเพิ่มความโปร่งใสให้กับการดำเนินนโยบายกึ่งการคลัง
ศึกษาถึงวิธีการจัดทำงบประมาณ และระบบรายงานข้อมูลทางการเงินการคลังของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงวิธีการจัดทำงบประมาณของปไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษางบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ และแนวทางบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณระหว่างหน่วยงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้จ่ายงบประมาณ