บทความวิจัย | กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริต ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน

การรณรงค์ด้านการป้องกันการทุจริตของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช) ในกลุ่มเยาวชนยังคงมีจํานวนน้อย ตามข้อมูลการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์สํานักงาน ป.ป.ช. ทำให้ไม่สามารถป้องกันปัญหาด้านการทุจริตในกลุ่มเยาวชนได้

 

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกลยุทธ์การรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ในกลุ่มเยาวชน โดยมีวิธีการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักคือ เยาวชน นักสร้างสรรค์สื่อสารและกิจกรรมเพื่อการรณรงค์ ผู้บริหารงานด้านการป้องกันการทุจริต และผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันการทุจริต

 

ผลการวิจัย พบว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ใช้กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริตในกลุ่มเยาวชน ดังนี้ การวิเคราะห์กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ในกลุ่มเยาวชน มีทั้งสิ้น 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 2) กลยุทธ์การใช้ผู้ทรงอิทธิพลในสื่อออนไลน์เข้ามาช่วยในการรณรงค์ 3) กลยุทธ์การสร้างสารเพื่อการรณรงค์ และ 4) กลยุทธ์การถ่ายทอดนวัตกรรม

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์, สุภาภรณ์ ศรีดี และสันทัด ทองรินทร์. (2566). กลยุทธ์การรณรงค์เพื่อการป้องกันปัญหาการทุจริต ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในกลุ่มเยาวชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 15(1), 323335

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์
  • สุภาภรณ์ ศรีดี
  • สันทัด ทองรินทร์
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

You might also like...

KRAC Hot News I เมื่ออคติทางเพศเปิดทางให้เกิดการคอร์รัปชัน ทางออกอยู่ที่ธรรมาภิบาล

บทความนี้จะพาทุกท่านไปเจาะลึกในสถานการณ์การเลือกปฏิบัติทางเพศของไทย การคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นจากการเลือกปฏิบัติทางเพศ และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยธรรมาภิบาล

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

“ถึงทุกท่านที่ผ่านมาพบโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าท่านเป็นใคร ข้าขอให้จดหมายฉบับนี้เป็นคำเตือนจากดินแดนมัชฌิมา ดินแดนของข้าที่ความจริงและความลวงถูกพร่ามัวไปด้วยหมอกแห่งอำนาจและความย้อนแย้งได้โปรดพิจารณาจดหมายฉบับนี้อย่างถี่ถ้วน และอย่าได้ซ้ำรอยดินแดนแห่งนี้ด้วยเถิด”

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้