บทความวิจัย | การบัญชีนิติเวชกับการทุจริตทางบัญชี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัย เอ

การศึกษาการทุจริตทางบัญชี พบว่า การทุจริตเกิดจากภาวะสังคมทุนนิยมและความโลภ และความเข้มแข็งของการควบคุมภายในหน่วยงาน ดังนั้น การป้องกันการทุจริตต้องเริ่มจากนโยบายการควบคุมภายใน ที่มีพื้นฐานจากการพัฒนาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมให้ไม่เอื้อต่อการทุจริต

 

ปัญหาการทุจริตเป็นเสมือนโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายมาแต่อดีตจนปัจจุบัน โดยเฉพาะในวงการเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในประเทศไทย

 

บทความนี้ จึงต้องการอธิบายเกี่ยวกับความหมายของบัญชีนิติเวช ความหมายของการทุจริต ประเภทของการทุจริต กระบวนการกระทําทุจริตและการสืบสวนสอบสวนสัญญาณการทุจริตเบื้องต้นกรณีศึกษาและบทสรุป โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการทุจริตและบัญชีนิติเวช

 

ผลการศึกษา พบว่า การบัญชีนิติเวชเป็นการใช้ความเชี่ยวชาญร่วมกับความรู้ทางด้านบัญชีในการตรวจสอบ หรือเสนอแนะแนวทางป้องกันในการจัดทําบัญชีให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่ได้รับการรับรองโดยทั่วไป สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น หรือหาสาเหตุของการทุจริตที่เกิดขึ้น

 

จากกรณีศึกษา พบว่า แรงจูงใจของการทุจริตมาจากสถานการณ์สังคมทุนนิยมและความโลภ ประกอบกับการควบคุมภายในของหน่วยงานที่ยังไม่รัดกุมเพียงพอ ดังนั้น การป้องกันการทุจริตต้องเริ่มจากนโยบายและวิธีการของหน่วยงานที่เฉพาะเจาะจงด้านการควบคุมภายใน โดยมีพื้นฐานจากการพัฒนาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้ไม่เอื้อต่อการเกิดการทุจริต

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

วสันต์ กาญจนมุกดา และไกรวุฒิ ตั้งสัตยาชีพ. (2565). การบัญชีนิติเวช กับการทุจริตทางบัญชี : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัย เอ. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 4(2), 3142.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • วสันต์ กาญจนมุกดา
  • ไกรวุฒิ ตั้งสัตยาชีพ
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นสังคมที่ปลอดคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตบางเขน เขตสายไหม เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนรูปแบบและช่องทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน โดยมีชุมชนเป็นหัวใจในการขับเคลื่อน

ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไกเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมใน จ.นครราชสีมา

บทความวิจัย | แบบบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ (บช.1): หลักการ ปัญหา การปรับตัว

การศึกษาหลักการ ปัญหา และการปรับตัวของการจัดทำแบบบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ (บช.1) มีส่วนสำคัญในการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจสอบและดำเนินคดีทุจริตได้

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)