บทความวิจัย | การปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยสัญญาของรัฐในโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ

การศึกษาปัญหาและสาเหตุเกี่ยวกับสัญญาของรัฐในโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อเสนอให้กำหนดมาตรการและกลไกทางกฎหมายในกระบวนการต่าง ๆ ของการทำสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ อันนำไปสู่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

 

ปัจจุบันโครงการของรัฐขนาดใหญ่ในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชนในประเทศไทยนั้น ต้องพึ่งพาความรู้ความชำนาญทางเทคโนโลยีสูงโดยบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งด้านการสำรวจออกแบบ ควบคุม ดำเนินการก่อสร้าง รวมถึงการหาแหล่งทุนและการบริหารจัดการโครงการ จึงได้มีการพัฒนาระบบสัญญาของรัฐจากระบบจ้างเหมาหรือให้สัมปทานก่อสร้างโดยวิธีปกติแต่เลือกใช้วิธีการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จโดยกำหนดให้ผู้รับจ้างรายเดียวเป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนำมาใช้กับสัญญาของรัฐในโครงการบริการสาธารณะขนาดใหญ่หลายโครงการ โดยให้เหตุผลว่ารวดเร็วและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม  

 

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในโครงการของรัฐที่ใช้วิธีจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จกลับพบปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดและช่องว่างของกฎหมายรวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นสาเหตุของการทุจริตคอร์รัปชันอยู่เสมอ 

 

บทความวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุเกี่ยวกับสัญญาของรัฐในโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้เกิดข้อเสนอในการกำหนดมาตรการและกลไกทางกฎหมายในกระบวนการต่างๆ ของการทำสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ ตลอดจนสร้างกลไกการตรวจสอบให้มีความรัดกุมชัดเจน นำไปสู่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อมรรัตน์ กุลสุจริต และพัชรวรรณ นุชประยูร. (2561). การปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยสัญญาของรัฐในโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 145-167.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • อมรรัตน์ กุลสุจริต 
  • พัชรวรรณ นุชประยูร 

 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ศึกษาพัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 103/7 วรรคแรกและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

ผลกระทบขององค์กรธุรกิจจากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ปปช. มาตรา 103/7

ศึกษาประสิทธิภาพของกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยให้เป็นไปด้วยความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

You might also like...

องค์กรอิสระกับการสร้างประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้: กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

การศึกษาผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ทั้งสองหน่วยงานยังมีงบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณงาน และอำนาจหน้าที่ที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | สำนักงาน ป.ป.ช. ตรวจสอบหน่วยงานรัฐ แล้วใครตรวจสอบ สำนักงาน ป.ป.ช.

ถ้าสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่โปร่งใส (ปชช) ทำอะไรได้บ้าง ? และหากประชาชนจะตรวจสอบสำนักงาน ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร ? มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ชวนถอดรหัส “วัฒนธรรมองค์การต้านโกง” จาก ฮ่องกง สิงคโปร์และฟินแลนด์

ชวนส่องแนวทางสร้างค่านิยมสุจริตจาก 3 ชาติที่โปร่งใส ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการที่น่าสนใจที่ไทยสามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้