บทความวิจัย | การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล

 

ปัญหาการทุจริตในจังหวัดเลยส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความกังวลเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในอำเภอเมือง ซึ่งพบว่าเป็นพื้นที่ที่มีสถิติการทุจริตค่อนข้างสูง การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการป้องกันการทุจริตในอำเภอเมือง จังหวัดเลย 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตโดยการสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดเลย และ 3) วิเคราะห์องค์ความรู้และรูปแบบการป้องกันการทุจริตโดยการสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดเลย 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยผสานวิธี (Mix Method) คือการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก 25 คน และการสนทนากลุ่ม 10 คน และการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากการสำรวจประชาชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถาม 

 

ผลการศึกษาในอำเภอเมืองจังหวัดเลย พบว่า ปัญหาการทุจริตที่สำคัญคือ การซื้อเสียง การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารงบประมาณที่ไม่โปร่งใส ในการพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตจากการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ข้าราชการให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริตโดยยึดกฎระเบียบและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และในการพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีจรรยาบรรณและให้สวัสดิการที่เท่าเทียม ยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ศตวรรษ สงกาผัน. (2563). การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 2941. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง

ศตวรรษ สงกาผัน

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

You might also like...

การสังเคราะห์การทุจริตเชิงนโยบายเพื่อการออกแบบระบบและพัฒนกลไกการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายของไทย

เมื่อการทุจริตเชิงนโยบายเริ่มขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย การตัดสินใจนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การติดตามตรวจสอบการนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบาย ดังนั้น การสกัดกั้นปัญหาจึงต้องวิเคราะห์ และสังเคราะห์ อย่างรอบด้าน

 การเพิ่มประสิทธิภาพภารกิจป้องกันการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด

การศึกษาประสิทธิภาพภารกิจป้องกันการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด พบว่า การดำเนินงานมีปัญหานับตั้งแต่กระบวนการวางแผน ขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนการประเมินผล จึงไม่สามารแก้ไขปัญหาทุจริตได้อย่างมีประสิทธิผล

การสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

การศึกษาแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริต พบว่า การนำค่านิยมสุจริตมาใช้กับองค์การทางสังคมสามารถปรับตามแนวคิดวัฒนธรรมองค์การได้ เนื่องจากวัฒนธรรมองค์การเป็นแนวคิดที่อธิบายถึง ความเชื่อ และค่านิยมภายในองค์การ ซึ่งกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ