บทความวิจัย | การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทําการศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี

 

โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้นําองค์กร ภาครัฐ ภาคประชาชนและ พระสงฆ์ จํานวน 18 รูป/คน นําผลการวิจัยมาสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 10 รูป/คนวิเคราะห์ เนื้อหา สรุปผล และอธิบายเชื่อโยงความสัมพันธ์

 

ผลการวิจัย พบว่า เครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายที่แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และเครือข่ายที่เกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับการเสริมสร้างเครือข่ายมี 7 กระบวนการสำคัญ ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้ การสร้างอุดมการณ์ การแต่งตั้งคณะกรรมการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การวางแผนป้องกัน การเฝ้าระวังการทุจริต และการประเมินผล

 

นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอเเนะต่อแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การส่งเสริมบทบาทของสภา การมีส่วนร่วมของชุมชน การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน การเชื่อมประสานองค์กร การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และสนับสนุนการร้องเรียน รวมถึงการวางแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและการตั้งหลักเกณฑ์การเลือกผู้บริหารในระดับท้องถิ่น

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

สมชาย ชูเมือง, วรวุฒิ  มูลตรีอุตร์, มนตรี วรภัทรทรัพย์, พระมหาพิพัฒพงศ์ ฐิตธมฺโม และพระมหาคำพันธุ์ รณญฺชโย (แสนยโยธิน). (2563). การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 5(5), 190–202.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • สมชาย ชูเมือง 
  • วรวุฒิ  มูลตรีอุตร์ 
  • มนตรี วรภัทรทรัพย์ 
  • พระมหาพิพัฒพงศ์ ฐิตธมฺโม 
  • พระมหาคำพันธุ์ รณญฺชโย (แสนยโยธิน) 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

You might also like...

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิดเป็นเหตุ: สำรวจสถานการณ์ทุจริตที่เพิ่มขึ้นในช่วงโรคระบาด

การระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก โดยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าการให้และเรียกรับสินบนในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ? อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย