บทความวิจัย | ความเป็นมาในการจัดตั้งคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในประเทศไทย

ปัญหาคอร์รัปชันมีมาอย่างยาวนานในสังคมไทย โดยบทความนี้จะพาไปสำรวจความเป็นมาของการจัดตั้งคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในประเทศไทยว่ากว่าจะมี สำนักงาน ป.ป.ช. ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีปัญหาและพัฒนาการด้านการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไรบ้าง

 

การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันถือเป็นปัญหาอันสำคัญยิ่งของสังคมที่รัฐบาลควรให้ความใส่ใจ เนื่องจากในประเทศที่มีอัตราการทุจริตคอร์รัปชันสูงย่อมนำไปสู่การขัดขวางความเจริญของประเทศ ส่งผลให้ประเทศดังกล่าวไม่สามารถใช้ทรัพยากรของตนได้อย่างเต็มที่ อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ล่าช้าและขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

มาตรการการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชันอย่างป็นระบบและเห็นเป็นรูปธรรมในสังคมไทยนั้นเกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2518 จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ส่งผลให้มีการจัดตั้งหน่วยงานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศครั้งแรกภายใต้ชื่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (สำนักงาน ป.ป.ป.) 

 

แต่เนื่องจากการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่กฎหมายซึ่งยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร ส่งผลลให้เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในปีพ.ศ. 2540 ผู้ร่างกฎหมายจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นองค์กรหลักในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแทนที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (สำนักงาน ป.ป.ป.) องค์กรดังกล่าวมีชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) 

 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

วุฒิชัย เต็งพงศธร. (2556). ความเป็นมาในการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 4(1), 55-62.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2556
ผู้แต่ง

วุฒิชัย เต็งพงศธร

 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย | การพัฒนาสื่อแอนิเมชันรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติเยาวชนไทย เพื่อโครงการบัณฑิตไทย โตไปไม่โกง

เมื่อสื่อแอนิเมชัน 3 มิติช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทุจริตทางการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการทุจริต ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดกรณีทุจริตในระบบการศึกษาได้

บทความวิจัย | การพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน

การใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและเชื่อมโยงฐานข้อมูลในทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

บทความวิจัย | การดําเนินคดีเกี่ยวกับการจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินหรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยขอความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เพื่อไม่ให้ขัดต่อหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ ควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2561 โดยปรับแก้ให้เจ้าหน้าที่รัฐที่มีความผิดเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินถูกตัดสิทธิทางการเมืองไม่เกิน 10 ปี