บทความวิจัย | นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย: ศึกษาเชิงวิพากษ์การนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ

การป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับปัจจัยสำเร็จ เช่น นโยบาย ทรัพยากร กลไกการควบคุมภายใน เป็นต้น และกำกับดูแลปัจจัยล้มเหลว เช่น ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางเพื่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยงาน 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การศึกษาภาคสนาม (Field Study) ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าจากงานเขียน บทความ ข้อมูล หรืองานวิจัยที่อาศัยการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารเพื่อนำไปสู่คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 

 

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายด้านการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ โดยแบ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จคือ นโยบาย ทรัพยากร ลักษณะขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การติดต่อสื่อสาร และกลไกการควบคุมภายใน และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวคือ ปัจจัยด้านผู้กำหนดนโยบาย ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านประชาชนและสื่อมวลชน ปัจจัยด้านองค์กรเพื่อการตรวจสอบ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

 

ซึ่งแนวทางสำหรับการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย คือ หน่วยงานภาครัฐบาลต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ โดยการนำปัจจัยดังกล่าว มาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องให้ความสำคัญถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติโดยการขจัดปัจจัยดังกล่าวให้หมดไป

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

กานต์ ศริวิภาสถิตย์. (2557). นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : ศึกษาเชิงวิพากษ์การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 19.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง

กานต์ ศรีวิภาสถิตย์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Insight | นโยบายรัฐบาลเปิดของเอสโตเนีย: การสร้างความโปร่งใสของภาครัฐที่ตรวจสอบได้

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเส้นทาง “รัฐบาลเปิด” ของเอสโตเนีย ตั้งเเต่การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเปิดเพื่อเพิ่มความโปร่งใส พร้อมบทสรุปข้อคิดที่ไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

ในปัจจุบัน การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจีนสมัยใหม่หรือจีนร่วมสมัยในสังคมไทย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นเรื่อง “ทุนจีนเทา”(Grey Capital) นับเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจ เนื่องมาจากความเชื่อมโยงของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของพื้นที่ในสังคมไทยที่ทุนจีนเทาเหล่านี้เข้าไปมีอิทธิพลและดำรงอยู่

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I ชวนรู้จัก TI กับ 6 ประเด็นใหญ่ที่ผลักดันความโปร่งใส ปี 2024

เพราะการต่อต้านคอร์รัปชันต้องสร้างความโปร่งใสชวนดู 6 ประเด็นที่ TI ผลักดันเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา จะมีอะไรบ้าง ? ติดตามอ่านได้ที่นี่เลย