บทความวิจัย | อายุความในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐในคดีทุจริต

อายุความในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐในคดีทุจริต พบว่า ระยะเวลา 5 ปีตามกฎหมายในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการรวบรวมพยานหลักฐาน ดังนั้นจึงควรแก้ไขด้วยเพิ่มระยะเวลาโดยพิจารณาจากการนำบทกฎหมายที่มีการกำหนดเช่นเดียวกันมาเทียบเคียง 

 

จากพระราชบัญญัติของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งมีปัญหาในบทกฎหมายกรณีระยะเวลาในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่เหมาะสมกับกระบวนการพิจารณาและการรวบรวมพยานหลักฐานการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ตามเวลาที่กำหนด และเกิดความไม่เป็นธรรมต่อหน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเสียหาย

 

การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและวิเคราะห์แนวทางแก้ไขเกี่ยวกับกรณีการกำหนดระยะเวลาในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐตามพระบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 โดยมีวิธีการศึกษาแบบทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ และหลักการดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทุจริตของไทยและต่างประเทศ 

 

ผลการศึกษา พบว่า การกำหนดระยะเวลาเพียง 5 ปี นับแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันกล่าวหาเป็นระยะเวลาที่ไม่เพียงพอและไม่ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์ในความเป็นจริง เนื่องจากมีหลายปัจจัยอันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิด เช่น ความซับซ้อนจากการใช้เทคโนโลยี

 

จึงควรแก้ไขบทบัญญัติเรื่องระยะเวลาในการรับคำกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ให้มีระยะเวลายาวนานขึ้น โดยอาศัยบทกฎหมายที่มีการกำหนดเช่นเดียวกันมาเทียบเคียง เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐสามารถรวบรวมพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิจารณา

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พัทธนันท์ นาสวน. (2565). อายุความในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐในคดีทุจริต. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 2(2), 116.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

พัทธนันท์ นาสวน

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I แอฟริกาใต้ต่อสู้คอร์รัปชัน กู้คืนทรัพย์กลับประเทศได้อย่างไร ?

เพราะการคอร์รัปชัน ไม่ใช่แค่การตรวจสอบหรือการนำคนผิดมาลงโทษเท่านั้น แอฟริกาใต้จึงเดินหน้าเพื่อต่อสู้ กู้คืนทรัพย์หลายหมื่นล้านจากการคอร์รัปชัน

KRAC Insight | นโยบายรัฐบาลเปิดของเอสโตเนีย: การสร้างความโปร่งใสของภาครัฐที่ตรวจสอบได้

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเส้นทาง “รัฐบาลเปิด” ของเอสโตเนีย ตั้งเเต่การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเปิดเพื่อเพิ่มความโปร่งใส พร้อมบทสรุปข้อคิดที่ไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง