ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในวงการธุรกิจเอกชนไทย กับแนวทางแก้ไขและป้องกัน

ศึกษารูปแบบและแรงจูงใจของการคอร์รัปชันในภาคธุรกิจเอกชนไทย รวมทั้งศึกษาการทุจริตในต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาและเสนอแนวทางการดําเนินการป้องกันการทุจริตในวงการธุรกิจเอกชนไทย

การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ และแรงจูงใจของการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจเอกชนไทย และศึกษากรณีการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์แนวทางแกไขปัญหาสําหรับประเทศไทย รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการดําเนินการป้องกันการทุจริตในวงการธุรกิจเอกชน โดยเป็นการสํารวจและวิเคราะห์พฤติกรรมในการทุจริตคอร์รัปชันในวงการธุรกิจเอกชนไทย รวมถึงองค์ประกอบสําคัญที่เอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันและแรงจูงใจที่ทําให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว

จากการศึกษา พบว่าการทุจริตในรูปแบบเดิม เช่น การยักยอกทรัพย์ การตกแต่งบัญชี ยังเป็นรูปแบบที่แพร่หลายในการทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปัจจุบัน ส่วนพฤติกรรมการหลบเลี่ยงภาษี ยังมีอยู่อย่างแพร่หลาย โดยมักดําเนินการควบคู่ไปกับการถ่ายโอนกำไร หรือการโอนย้ายเงิน เพื่อดําเนินธุรกิจแบบนอมินี กฎระเบียบที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีความเข้มงวด ไม่สามารถป้องกันปัญหาได้เท่าที่ควร ดังนั้น การแก้ไขปัญหา จึงควรดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดอย่างรวดเร็วฉับไว และกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากการศึกษาแรงจูงใจในการทุจจริตในตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้ให้เห็นว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทุจริต มีมูลค่าสูงกว่าบทลงโทษตามกฎหมายค่อนข้างมาก และในทางปฏิบัติผู้ที่ได้รับโทษตามกฎหมาย มีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ถูกกล่าวโทษทั้งหมด

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าประเทศไทยมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันค่อนข้างมาก เช่น การตรวจสอบทรัพย์สินก่อนและหลังการเข้ารับตําแหน่ง การกาหนดโทษยึดทรัพย์ฐานร่ำรวยผิดปกติ การบังคับใช้ กฎหมายฟอกเงิน รวมทั้งข้อห้ามไม่ให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ใช้ข้อมูลภายในเล่นหุ้น เป็นต้น แต่พฤติกรรมการปกปิดการถือหุ้นของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของตนกลับมีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น
  • ผลจากการศึกษา พบว่าสําหรับการทุจริตในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนใหญ่มักเกิดจากการหลอกลวงผู้บริโภค หรือลูกค้า ซึ่งไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจเท่าที่ควร บทบาทของภาครัฐในการป้องกันการทุจริตและการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหาย ขึ้นอยู่กับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแต่ละประเภท ว่าได้มีกฎหมายบังคับใช้โดยตรง และมีการระบุหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบผู้ประกอบการในธุรกิจนั้น ๆ  หรือไม่
  • ผลจากการศึกษาประสบการณ์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในเกาหลีใต้และฮ่องกง แสดงให้เห็นว่าปัจจัยสําคัญที่นําไปสู่การเปลี่ยนเเปลง คือ แรงกดดันจากประชาชน ซึ่งในกรณีของฮ่องกง เกิดจากความรุนแรงและการแพร่กระจายของการทุจริตคอร์รัปชันที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยส่วนบุคคล ในกรณีของเกาหลีใต้ แรงกดดันมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจซึ่งมีผลทําให้รัฐบาลต้องดําเนินการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจ จากการที่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าแชโบลได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ และได้รับการผ่อนปรนจากข้อบังคับของกฎหมาย
  • ข้อเสนอเเนะต่อรูปแบบเชิงยุทธศาสตร์ของสํานักงาน ป.ป.ช. ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในภาคเอกชน อาจดําเนินการได้ โดยการผลักดันให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบ และวิธีการทํางานของหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนและนักลงทุนทั่วไปเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในภาคเอกชน
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, พรชัย ฬิลหาเวสส และศิริกาญจน์ เลิศอําไพนนท์. (2554). ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในวงการธุรกิจเอกชนไทย กับแนวทางแก้ไขและป้องกัน. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2554
ผู้แต่ง
  • เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
  • วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี
  • พรชัย ฬิลหาเวสส
  • ศิริกาญจน์ เลิศอําไพนนท
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด

วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

สู่ความชัดเจนในระเบียบธรรมาภิบาล: ประเด็นสืบเนื่องจากกรณีการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น

มุ่งศึกษากฎหมายของไทย ผลของการบังคับใช้กฎหมาย เเละเเนวปฎิบัติที่ดีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอเเนะของไทย เช่น การประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย

ผลกระทบขององค์กรธุรกิจจากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ปปช. มาตรา 103/7

ศึกษาประสิทธิภาพของกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยให้เป็นไปด้วยความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”