ผลกระทบขององค์กรธุรกิจจากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ปปช. มาตรา 103/7

ศึกษาประสิทธิภาพของกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยให้เป็นไปด้วยความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปัญหาคอร์รัปชันในการจัดหาพัสดุของหน่วยงานภาครัฐที่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินประจำปี เงินกู้ เงินช่วยเหลือ หรือรายได้ของหน่วยงานภาครัฐ ทําให้รัฐเกิดความเสียหาย เพราะมีการสมยอมในการเสนอราคา และมีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นเป้าหมายของงานวิจัยเรื่องนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกลไกการป้องกัน และแก้ไขปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยให้เป็นไปด้วยความรัดกุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต้องการแกไขปัญหานี้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้แก้ไขใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ปี  พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะการออกประกาศฉบับที่ 2 มาตรา 103/7 เพื่อเป็นกลไกในการควบคุมการใช้งบประมาณของหน่วยงานภาครัฐในการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีความโปร่งใส คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสําหรับประเทศไทย
  • จากผลการศึกษา เมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างการคอร์รัปชันกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงานภาครัฐ พบว่างบประมาณกว่าร้อยละ 62.2 ของงบทั้งหมด ถูกจัดสรรให้ 5 กระทรวงสําคัญ ที่เชื่อมโยงกับการถูกร้องเรียนว่ามีการคอร์รัปชันสูง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ งบกลางของนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงกลาโหม ซึ่งจากการประมาณการคาดว่าโอกาสของความเสี่ยงที่จะเกิดการคอร์รัปชันในงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2557 อยูในราว 2.5 ล้านล้านบาท หากรวมกับโครงการพิเศษต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งมักจะเป็นโครงการประเภทที่ไม่ผานระบบกระบวนการงบประมาณ
  • จากผลการศึกษา ระบุว่าหากต้องการที่จะลดขนาดของการคอร์รัปชันลง จําเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง เพื่อควบคุมการใช้อํานาจทางการเมืองโดยมิชอบของนักการเมืองและพรรคการเมือง ที่เรียกว่าการคอร์รัปชันทางการเมือง (Political Corruption) และใช้อํานาจทางการเมืองในการแต่งตั้ง และโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เรียกว่าการคอร์รัปชันในการบริหารราชการ (Administrative corruption) รวมถึงการใช้อํานาจทางการเมืองสมคบกับข้าราชการประจํา และนักธุรกิจที่เรียกวาการคอร์รัปชันทางด้านเศรษฐกิจ (Economic corruption)
  • จากผลการศึกษา พบว่าเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทย ให้เป็นไปด้วยความรัดกุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรพิจารณาให้คู่สัญญาในโครงการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานรัฐของบุคคล หรือนิติบุคคล จะต้องจัดทำบัญชีรายการรับจ่ายเงินในโครงการดังกล่าว เพื่อยื่นต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง คือ กรมสรรพากร และสํานักงาน ป.ป.ช. ขณะที่หน่วยงานภาครัฐ นอกจากจะมีหน้าที่ประกาศราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละโครงการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ จะต้องผ่านขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์มของกรมบัญชีกลางอีกด้วย ซึ่งเชื่อวาจะเป็นการควบคุมและตรวจสอบกระแสการเคลื่อนไหวของเงินทั้งสองขาระหว่างผู้ซื้อ กับ ผู้ขายในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อป้องกันการคอร์รัปชัน และยังเป็นข้อมูลสําคัญต่อการจัดเกบภาษีของกรมสรรพากรอีกด้วย
  • จากผลการศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ 5 ข้อ ดังนี้ (1) การสร้างความพร้อมด้านบุคลากรเรื่องวิธีการปฏิบัติตามมาตรา 103/7 และ 103/8 (2) การปรับปรุงระบบ บช.1 ให้มีมาตรฐานตามหลักบัญชีสากล และเป็นระบบที่ทําได้ง่าย ไม่เป็นภาระของผู้ประกอบการ (3) ควรส่งเสริมมาตรการเชิงบวกของกฎหมายมาตรานี้ มากกว่าการใช้มาตรการเชิงลบ เช่น การมีระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (4) การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกําหนดวงเงินขั้นตํ่าของธุรกรรมตามมาตรา 103/7 เสียใหม่ โดยในระยะเริ่มต้น วงเงินขั้นตํ่าควรอยูที่ 10 ล้านบาท และ (5) ข้อเสนอแนะต่อสัญญาการให้ทุน เพื่อสนับสนุนการวิจัยตามมาตรา 103/7 เสนอว่า มหาวิทยาลัยของรัฐกับมหาวิทยาลัยของเอกชน สมควรที่จะได้รับการปฏิบัติในมาตรฐานเดียวกัน
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

สังศิต พิริยะรังสรรค์, รัตพงษ์ สอนสุภาพ และฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2557). ผลกระทบขององค์กรธุรกิจจากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ปปช. มาตรา 103/7. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง
  • สังศิต พิริยะรังสรรค์
  • รัตพงษ์ สอนสุภาพ
  • ฉัตรวรัญ องคสิงห์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการฟอกเงินผ่านนิติบุคคล และธุรกิจบังหน้า ทนายความและนักบัญชี บริษัทนำเที่ยว ทรัสต์ต่างประเทศที่ดำเนินการในประเทศไทย การเล่นแชร์ที่มีการฉ้อโกงและการฟอกเงินผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร 

เมื่อการฟอกเงินเป็นปัญหาร้ายแรงที่ยังคงแพร่หลายในสังคมไทย การแก้ไขปัญหาจึงต้องลองศึกษาแนวทางที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด

วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

You might also like...

KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ? ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”

KRAC Insight | Data Standard: การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

KRAC ชวนฟังทีม Open Data ในเครือข่าย SEA-AC เล่าถึงการจัดการข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Data Standard) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)

KRAC Insight | สู่สังคมโปร่งใส ตรวจสอบได้ เกาหลีใต้ทำอย่างไรให้การคอร์รัปชันลดลง

KRAC ชวนดูบทเรียนว่าเกาหลีใต้ทำอย่างไรให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ กับ คุณเสกสรร อานันทศิริเกียรติ สมาคมไทยคดีศึกษาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KATS) ที่มาอธิบายสถานการณ์ทางการเมืองของเกาหลีใต้ในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงพาไปย้อนชมประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้