ลงมือสู้โกง : Bangkok Breaking : อยู่เมืองนี้ อย่ารู้เยอะ?

“เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถกู้ภัยมีเวลาเพียงแค่ 4 นาทีก่อนที่ตำรวจจะเข้ามาที่จุดเกิดเหตุ ฉะนั้นนี่คือเวลาของนักกู้ภัยทุกคนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ” ประโยคนี้ถูกกล่าวขึ้นในซีรี่ส์เรื่อง Bangkok Breaking โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวันชัย นำแสดงโดย เวียร์-ศุกลวัฒน์ ชายหนุ่มที่เข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยพี่ชายทำงานหาเงินจุนเจือครอบครัว แต่แล้วพี่ชายก็ประสบกับอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อนที่จะได้พบกัน ทำให้เขาต้องมารับหน้าที่เป็นอาสาสมัครกู้ภัยอยู่ในมูลนิธิแห่งหนึ่งแทนพี่ชาย เขาพยายามที่จะสืบหาความจริงเกี่ยวกับการตายของพี่ชายรวมถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นภายในมูลนิธิ โดยวันนี้ผู้เขียนจะมุ่งประเด็นไปยังเรื่องปัญหาความไม่โปร่งใสภายในองค์กรที่ขึ้นชื่อว่า “มูลนิธิอาสาสมัครกู้ภัย”

“มูลนิธิ” ตามมาตรา 110 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกันและได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้และการจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง (กรมสรรพากร, 2564)

จากนิยามดังกล่าวเราคงเข้าใจในเบื้องต้นว่าเงินบริจาคที่เราเต็มใจให้มูลนิธินั้น ก็คงได้รับการจัดสรรไปกับเรื่องที่เกี่ยวกับการกู้ภัย เช่น อุปกรณ์สำหรับการกู้ภัย พาหนะของมูลนิธิ อุปกรณ์พยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมทักษะของอาสาสมัครกู้ภัย เป็นต้น แต่เราเคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินบริจาคที่เราให้ไปนั้น ทางมูลนิธิได้นำเงินเหล่านั้นไปทำอะไรบ้าง ได้ทำตามจุดประสงค์ หรือมีนัยแอบแฝงสำหรับเรื่องส่วนตัวหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวถูกตั้งคำถามอยู่ในซีรี่ส์เรื่องนี้ เมื่อมูลนิธิที่วันชัยทำงานด้วยเริ่มมีชื่อเสียง และได้รับเงินบริจาคมากขึ้น แต่มีสมาชิกอาสาสมัครคนหนึ่งกลับเริ่มพูดขึ้นมาว่า “ในที่สุดก็มีเงินซื้อเสื้อใหม่แล้ว” จากนั้นหัวหน้าที่ดูแลมูลนิธิก็ติงอย่างแรงว่าเอาเงินไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อตนเองไม่ได้ ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของเงินบริจาคที่ได้มา ไม่ใช่นึกถึงแต่เรื่องส่วนตัว

จากเหตุการณ์ข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของการใช้ผลประโยชน์จากทุนที่ได้รับอย่างผิดจุดประสงค์ ซึ่งมีความพยายามนำไปใช้ในเรื่องส่วนตัว ขัดต่อจุดประสงค์ของการได้มาซึ่งเงินบริจาค ถึงแม้การกระทำดังกล่าวอาจไม่เกิดขึ้นก็ตาม แต่ก็เกิดความขัดแย้งกันด้วยคำว่าอาสาสมัครกู้ภัยเคยมีเงินพอใช้ทำอะไรให้ตัวเองบ้าง หากมาจำแนกเงินเดือนที่ได้รับ คนเหล่านี้จะมีรายได้ผ่านเงินสนับสนุนประจำเดือนจากกรรมการมูลนิธิ ซึ่งส่วนใหญ่มีธุรกิจส่วนตัว สามารถให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพวกเขาสมควรได้รับสวัสดิการและเงินเดือนที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่อันตรายก็ตาม แต่ไม่ควรนำมาเป็นประเด็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมต่อการกระทำทุจริตดังกล่าวได้

นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการนำทรัพย์สินของมูลนิธิไปใช้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานอาสา ซึ่งเห็นผ่านหลายฉากในซีรี่ส์ เช่น การนำพาหนะไปใช้ส่วนตัวเพื่อเดินทางนอกเวลาทำงาน ดัดแปลงยานพาหนะของมูลนิธิเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล การเบิกอุปกรณ์รักษาพยาบาลไปใช้ส่วนตัวและไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกู้ภัย เป็นต้น กลายเป็นการทุจริตเชิงพฤติกรรมโดยรวมมูลนิธิ ที่หลายคนอาจมองข้ามไป เพราะไม่ได้ดูเป็นรูปธรรมเหมือนการทุจริตทางการเงิน แต่เป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมาก หากเราจะเริ่มจับตาการทุจริตภายในองค์กรของตัวเอง หรือในซีรี่ส์ก็ตาม หากเรามองลึกลงไปเราเคยมีพฤติกรรมดังกล่าวในที่ทำงานบ้างหรือไม่

จากประเด็นดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่ารูปแบบการคอร์รัปชั่นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน หากเกิดขึ้นภายในองค์กร ซึ่งคนจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นของเงิน อย่างการจัดการงบประมาณภายในองค์กร การรับเงินบริจาค อย่างไรก็ตามพฤติกรรมที่นำอุปกรณ์ไปใช้ผิดประเภท เพื่อประโยชน์ส่วนตนก็ถือเป็นรูปแบบพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่เราจะได้เรียนรู้เป็นแบบอย่างว่าสิ่งนี้คือรูปแบบหนึ่งของการคอร์รัปชั่นที่เราควรจะเรียนรู้ไว้

หากย้อนกลับไปที่ปัญหาข้างต้น ผู้เขียนมีความเห็นว่ามีหนทางในการแก้ไขปัญหาดังนี้

1. ส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจสอบ และเปิดเผยข้อมูลการบริหารงบประมาณให้เป็นสาธารณะ

2. ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านธรรมาภิบาล และส่งเสริมองค์กรให้เป็นตัวอย่างที่ดีต่อสังคม

3. ส่งเสริมความรู้แก่สมาชิกในองค์กร และประชาชนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำคอร์รัปชั่น ซึ่งหน่วยงานภาคประชาชนคอยส่งเสริมประเด็นธรรมาภิบาลในองค์กรไม่แสวงหากำไร อย่างมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคม และธรรมาภิบาล ที่สร้างความร่วมมือและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการและผู้บริหารเป็นสำคัญ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในภาคประชาชน และสร้างแรงจูงใจเรื่องธรรมาภิบาลในส่วนอื่นๆ ของสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น และเป็นสังคมที่โปร่งใส

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง

ศุภณัฐฐา ทรัพย์สำรวย

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เวทีต้านโกงระดับโลก เขาพูดคุยอะไรกัน

4 ประเด็นน่าสนใจจาก “Summit for Democracy 2023” การประชุมระดับโลกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา HAND Social Enterprise HANDSocialEnterprise ได้รับเชิญจากรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปร่วมเสวนาในงาน Summit for Democracy 2023 หัวข้อหลักงานปีนี้คือ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” เชื่อมโยงคำอธิบายว่า การคอร์รัปชันบ่อนทำลายประชาธิปไตย ในทางกลับกันประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งจะทำให้คอร์รัปชันสูงขึ้น

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สรุปประเด็นเสวนาต้านโกงนานาชาติ

รวมแนวทางการแก้ปัญหาคอร์รัปชันจาก “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ KRAC Corruption ได้จัดขึ้น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ