ลงมือสู้โกง : Governance Project : ความหวังการยกระดับธรรมาภิบาลไทย

บทความในตอนนี้ผู้เขียนอยากบอกเล่าถึงโครงการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Governance for Sustainable
Development Project) โดยมีการดำเนินงานในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมและสร้างความร่วมมือร่วมใจกับภาคส่วนต่างๆ โดยมีองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมกันสนับสนุนและเข้าร่วมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านธรรมาภิบาลผู้เขียนจึงอยากบอกเล่าความสำเร็จในการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นความหวังและส่งต่อกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน องค์กรภาคีเครือข่าย และประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลและยังคงมีองค์กรภาคีเครือข่ายอีกมากมายที่ต้องการสร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น

ความเป็นมาของโครงการนี้ย้อนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 มีการจัดเวทีระดมความร่วมมือแผนปฏิบัติการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Governance for Sustainable Development Forum) เพื่อเชื่อมโยงภาคียุทธศาสตร์โดยเฉพาะองค์กรและกลุ่มเครือข่ายที่ทำงานขับเคลื่อนเรื่องธรรมาภิบาลมาร่วมกันกำหนดทิศทางธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ผลการจัดเวทีดังกล่าวมีองค์กรภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 100 องค์กร มีผู้เข้าร่วมเสวนากว่า 50 คน มีการประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือกว่า 50 ครั้ง จนนำไปสู่แผนปฏิบัติการกว่า 20 เรื่อง และเกิดการระดมความร่วมมือเพื่อพัฒนาธรรมาภิบาลใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1. ภาคการเงินและการธนาคาร 2. ภาคตลาดทุน 3. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และ Open Data 4. การยกระดับธรรมาภิบาลของระบบรัฐสภา 5. ธรรมาภิบาลป่าไม้และ 6. การยกระดับธรรมาภิบาลสื่อบุคคล

จากการดำเนินงานในปี 2564 ทำให้เกิดเป็นโครงการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2565 ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไกธรรมาภิบาลในแต่ละภาคส่วน โดยดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ ประการแรกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายด้านธรรมาภิบาลทั้งภายในภาคส่วนต่างๆ และข้ามภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สองเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายฯ ให้เกิดเป็นกลไกส่งเสริมธรรมาภิบาลที่เป็นรูปธรรม และประการสุดท้ายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้างในกลไกส่งเสริมธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้น

การดำเนินงานโครงการมีคณะทำงาน HAND Social Enterprise เข้ามาทำหน้าที่สนับสนุนการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรไปจนถึงระดับภาคส่วนให้กับภาคีในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นฝ่ายสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการทำให้ความร่วมมือที่เกิดขึ้นสู่การลงมือปฏิบัติจริงเห็นผลเป็นรูปธรรม จนเกิดกลไกในการส่งเสริมธรรมาภิบาลในแต่ละภาคส่วนเป็นระบบนิเวศ กลายเป็นพลังทางสังคมที่มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบได้ต่อไป

ผลการดำเนินงานในปี 2565 ผู้เขียนขอยกตัวอย่างผลการดำเนินงานแต่ละประเด็นมานำเสนอดังต่อไปนี้ ภาคการเงินและการธนาคาร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งมีการกำหนดแผนการขับเคลื่อนงานเรื่องการให้ความรู้ทางการเงินด้านการออมแก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ และได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และภาคีกว่า 20 หน่วยงานร่วมกันส่งเสริมความรู้ทางการเงินและผลักดันให้การส่งเสริมความรู้ทางการเงินอย่างเป็นวาระแห่งชาติ

ภาคตลาดทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายซึ่งมีการกำหนดแผนการขับเคลื่อนงาน 3 ด้าน ได้แก่ การให้ความรู้พื้นฐานทางการเงินด้านการลงทุนรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลแก่เด็กและเยาวชน การสนับสนุนบริษัท จดทะเบียนฯ ให้มีการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการเปิดเผยข้อมูล และการสร้างความร่วมมือกับเยาวชน และนักลงทุนรุ่นใหม่เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุนอย่างมีธรรมาภิบาล ตัวอย่างความสำเร็จในปีที่ผ่านมา สำนักงาน ก.ล.ต. สร้างความร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อผลักดันการให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องการออมเงินและการลงทุน โดยจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ทางการเงินการแนะนำเครื่องมือการลงทุนแบบดิจิทัล

การจัดซื้อจัดจ้างและ Open data โดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งมีการกำหนดแผนการขับเคลื่อนงานด้านการสื่อสารโครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP) และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยติดตาม ตรวจสอบโครงการก่อสร้างภาครัฐ

การยกระดับธรรมาภิบาลของระบบรัฐสภา โดยสถาบันพระปกเกล้าเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งมีการกำหนดแผนการขับเคลื่อนด้านการยกระดับธรรมาภิบาลรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาเปิดเผยข้อมูลการทำงานอย่างโปร่งใส และเกิดการทำงานร่วมกันหลายภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ (Open Parliament) ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมร่วมกันจัดทำรายงานการศึกษาการเปิดเผยข้อมูลของรัฐสภาบนเว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อพัฒนาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลของรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ธรรมาภิบาลป่าไม้ โดย RECOFTC Thailand และภาคีเครือข่ายร่วมกันกำหนดแผนการขับเคลื่อน 2 ด้าน ได้แก่ การสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อสนับสนุนภูมิทัศน์ป่าไม้และเชื่อมตลาดทุน และการพัฒนาเครื่องมือวัดผลและระบบการติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างความสำเร็จในปีที่ผ่านมา RECOFTC Thailand สร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย เช่น เทใจดอทคอม ENVIRONMAN หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดน่าน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อระดมทุนในโครงการต้นไม้ของเรา (T4A) และเข้าร่วมกิจกรรม HELP YOU, HELP ME Influencer for Change by Tellscore เพื่อรับสนับสนุน Key Opinion Leader / Influencer การร่วมประชาสัมพันธ์เพื่อระดมทุนในโครงการต้นไม้ของเรา (T4A) และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (THAI CG Fund) ในการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพป่าชุมชนเพื่อระบบนิเวศที่สมบูรณ์การสร้างความมั่นคงของชีวิตและการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลสื่อบุคคล โดย Tellscore เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายซึ่งมีการกำหนดแผนการขับเคลื่อนด้านการสร้างความร่วมมือกลุ่มสื่อบุคคล ร่างข้อกำหนด มาตรฐาน กฎระเบียบ ข้อบังคับให้มีมาตรฐานสื่อบุคคล/สื่อออนไลน์ ให้เกิดเป็นการยกระดับมาตรฐานธรรมาภิบาลกลุ่มสื่อบุคคล ตัวอย่างความสำเร็จในปีที่ผ่านมา Tellscore และภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดงานการประชุมเครือข่ายสื่อบุคคลในหัวข้อ “แนวทางปฏิบัติด้านสื่อบุคคล” โดยมีภาคี 8 องค์กรร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลประเด็นประโยชน์และปัญหาอันเกิดจากสื่อบุคคล และการสร้างมาตรฐานของสื่อบุคคล เพื่อนำไปสู่การจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติด้านสื่อบุคคลและเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป

ผลการดำเนินงานธรรมาภิบาลทั้ง 6 ประเด็นที่นำเสนอเบื้องต้นเป็นเพียงบางส่วนของความสำเร็จที่เกิดจากการ
สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่ายที่ต้องการขับเคลื่อนงานร่วมกัน โดยในปี 2566 ทางคณะทำงานมีแผนการดำเนินงานเพื่อขยายความร่วมมือไปสู่ประเด็นธรรมาภิบาลภาคส่วนต่างๆ เช่น ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เห็นความสำคัญในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ธรรมาภิบาลสื่อมวลชน และงานด้านการสื่อสารธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชันเพื่อสร้างการรับรู้สู่สังคมในวงกว้าง

ผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่าโครงการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Governance for Sustainable Development
Project) จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างความหวังให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน องค์กรภาคีเครือข่าย หรือประชาชนทั่วไป ให้เห็นว่าในสังคมไทยยังมีหน่วยงานอีกมากมายที่พร้อมร่วมกันสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานให้ธรรมาภิบาลของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นไป

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

พัชรี ตรีพรม

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เวทีต้านโกงระดับโลก เขาพูดคุยอะไรกัน

4 ประเด็นน่าสนใจจาก “Summit for Democracy 2023” การประชุมระดับโลกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา HAND Social Enterprise HANDSocialEnterprise ได้รับเชิญจากรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปร่วมเสวนาในงาน Summit for Democracy 2023 หัวข้อหลักงานปีนี้คือ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” เชื่อมโยงคำอธิบายว่า การคอร์รัปชันบ่อนทำลายประชาธิปไตย ในทางกลับกันประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งจะทำให้คอร์รัปชันสูงขึ้น

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เปิดตัว KRAC ศูนย์ความรู้ต้านโกง

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ถ้าไม่แก้ไขทุกมิติอย่างครอบคลุมผลที่ตามมาอาจกลายเป็นเพิ่มปัญหาให้สังคมได้ จึงต้องใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือการใช้ความรู้ทางวิชาการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงได้ร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้ง “ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค” (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration: KRAC) ขึ้น เมื่อ 24 เมษายนที่ผ่านมา

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สื่อสารต้านโกงอย่างไร ถึงได้ผล

ในหลายๆ ครั้งที่ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับผู้ฟังซึ่งเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ข้อแนะนำหนึ่งที่มักจะได้มาคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสื่อสาร นำเสนอเรื่องราวของผลกระทบจากการคอร์รัปชันที่รุนแรง เพื่อให้สังคมหวาดกลัวการคอร์รัปชันและรังเกียจคนคอร์รัปชัน เป็นการใช้พลังสังคมเพื่อกดดันให้ “คนโกงไม่มีที่ยืนในสังคม”

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น