How to ต่อต้านคอร์รัปชันในไทยให้ได้ผล Round 2 : ข้อมูลและเครือข่ายเพื่อทำลายการคอร์รัปชัน

ในการที่จะสร้าง “วัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน” ที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยนั้น นอกเหนือจากการทำความเข้าใจกลไกในระดับพื้นที่แล้ว ยังต้องศึกษาถึงกลไกสนับสนุนที่จะเข้ามาช่วยหนุนเสริมการต่อต้านคอร์รัปชันให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยกระบวนการของการเปิดเผยข้อมูล และการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เพื่อพัฒนาระบบและเครื่องมือในการป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชัน ที่จะเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทยที่มีประสิทธิผลและยั่งยืนได้ในระยะยาว

นอกจากการสร้างกลไกที่จะทำให้เกิด “วัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน” ในระดับพื้นที่ชุมชนและโรงเรียนแล้ว งานวิจัยของ ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ (2563) เรื่อง โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2 ยังได้มีการออกแบบการวิจัยและกิจกรรมบนฐานคิดที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าใจความหมายของคอร์รัปชัน โดยอาศัยกระบวนการของการเปิดข้อมูล และการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เพื่อพัฒนาระบบและเครื่องมือในการป้องกันและต่อต้านคอร์รัปชัน และสร้างกลไกต้นแบบด้านการต่อต้านการคอร์รัปชัน (Prototype) ที่จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อทางออกของประเทศไทยในเรื่องคอร์รัปชันที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งมีกลไกต่อเนื่องที่พัฒนาต่อยอดมาจากการสร้างความมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ที่สำคัญ แบ่งเป็น 2 ประการ ได้แก่

หนึ่ง ทางออกคอร์รัปชันด้วยการเปิดข้อมูล โดยจากการศึกษา พบว่า ปัญหาสำคัญของประชาชนทั่วไปที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการต่อต้านคอร์รัปชัน คือ การเก็บข้อมูลอย่างไม่เป็นระบบตามความต้องการข้อมูลของประชาชน และไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ง่ายเพียงพอ ซึ่งการออกแบบระบบการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ที่ผ่านมา มักจะเน้นไปที่ความสวยงามของหน้าตาเว็บไซต์ และความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานว่าต้องการจะเปิดเผยข้อมูลอะไร มากกว่าที่จะเป็นการนำเสนอข้อมูลหรือจัดกลุ่มข้อมูลให้เข้าถึงได้ง่าย จึงส่งผลให้เว็บไซต์การเปิดเผยข้อมูลจำนวนมากมีความสวยงาม แต่ขาดการสร้างผลกระทบจากการจัดกลุ่มข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากพอ ดังนั้น งานวิจัยจึงได้มีการสร้างเครื่องมือต้นแบบเพื่อทดลองใช้งานร่วมกับประชาชนทั่วไปที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และนำผลการศึกษามาสรุปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ ประกอบด้วย

(1) การเปิดเผยข้อมูลรัฐสภาที่มีการจัดหมวดหมู่ตามประเด็นการพิจารณาของกรรมาธิการ ที่จะช่วยทำให้ประชาชนหรือภาคประชาสังคมที่สนใจ สามารถติดตามการทำงานของภาคการเมืองได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบภาคการเมืองของประชาชน (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปในการออกแบบหน้าตาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ที่จะช่วยทำให้ประชาชนสามารถมีข้อเสนอแนะต่อการทำให้เว็บไซต์มีคุณสมบัติในการใช้งานที่ง่าย และสร้างประสบการณ์ที่ดีในการเข้าใช้งานเว็บไซต์สำหรับบุคคลทั่วไป และ (3) การจัดทำบันทึกและเปิดเผยข้อมูลการโฆษณาหรือการหาเสียงของพรรคการเมืองอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ว่าพรรคการเมืองได้ดำเนินการตามที่ให้สัญญาไว้หรือไม่ หรือได้ดำเนินการไปแล้วมากน้อยเพียงใด และใช้เป็นข้อมูลสำหรับประชาชนในการพิจารณาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งถัดไป

สอง ทางออกคอร์รัปชันด้วยเครือข่ายที่แข็งแกร่ง โดยจากการศึกษา พบว่า ปัญหาสำคัญขององค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน คือ ความร่วมมือระหว่างองค์กร ที่มักจะเป็นความร่วมมือกันแบบเป็นครั้งคราวอย่างไม่เป็นระบบ รวมถึงมักจะเป็นการอาศัยความสัมพันธ์หรือการรู้จักกันส่วนบุคคลในการติดต่อประสานงาน มากกว่าที่จะเป็นการติดต่อสัมพันธ์กันในระดับองค์กร ดังนั้น งานวิจัยจึงได้มีการสร้างเครื่องมือต้นแบบเพื่อทดลองใช้งานร่วมกับองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และนำผลการศึกษามาสรุปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ การออกแบบระบบ/กลไกการสร้างความร่วมมืออย่างเป็นระบบ เพื่อทำหน้าที่ในการเป็นฐานข้อมูลการทำงาน และส่งต่อประเด็นที่สำคัญ หรือส่งต่อความต้องการในความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ รวมถึงต้องสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง และต้องสามารถติดตามข้อมูลที่มีการส่งต่อระหว่างกันได้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาระบบในอนาคต และเพิ่มศักยภาพการทำงานของการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่า การที่จะสร้าง “วัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน” ที่เข้มแข็งได้ จำเป็นที่จะต้องมีกลไกสำคัญที่จะเข้ามาช่วยหนุนเสริมในการต่อต้านเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น กระบวนการของการเปิดเผยข้อมูล และการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เพื่อพัฒนาระบบและเครื่องมือในการป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยสร้างความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมอย่างเป็นระบบ และนำไปสู่ทางออกของการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทยที่มีประสิทธิผลและยั่งยืนได้ในระยะยาว

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

ใช้เทคโน for say no to Corruption

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ช่วยเพิ่มโอกาสของประชาชนในการรายงานการทุจริต …

How to ต่อต้านคอร์รัปชันในไทยให้ได้ผล Round 2 : ข้อมูลและเครือข่ายเพื่อทำลายการคอร์รัปชัน

ในการที่จะสร้าง “วัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน” ที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทยนั้น นอกเหนือจากการทำความเข้าใจกลไกในระดับพื้นที่แล้ว ยังต้องศึกษาถึงกลไกสนับสนุนที่จะเข้ามาช่วยหนุนเสริมการต่อต้านคอร์รัปชันให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ …

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น