KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I รู้จัก Green Corruption โครงการป้องกันการคอร์รัปชันด้านสิ่งแวดล้อม

การป้องกันการคอร์รัปชันด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญอย่างไร ?

เราต่างรู้กันดีว่าคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกและส่งผลอย่างรอบด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือด้านสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในหน่วยงานที่กำลังต่อสู้กับปัญหานี้อยู่คือ Basel Institute on Governance องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งปัจจุบันกำลังทำหน้าที่ในการสร้างความร่วมมือกับหลากหลายองค์กรและหน่วยงานรัฐในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการคอร์รัปชันที่ส่งผลกับระบบนิเวศ ป่าไม้ สัตว์ป่า การประมง และเหมืองแร่

คุณ Juhani Grossman หัวหน้าโครงการ Green Corruption ของ Basel Institute on Governance ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันปัญหาที่ต้องเจอสำหรับการต่อต้านคอร์รัปชันด้านสิ่งแวดล้อม คือความต้องการทรัพยากรธรรมชาติที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น โลหะทรานซิชัน (Transition metal) ที่จำเป็นสำหรับการผลิตไฟฟ้าทำให้การป้องกันการทุจริตในเหมืองแร่มีความสำคัญ หรือการทุจริตในการทำประมง ตัวอย่าง เรือประมงลำหนึ่งถูกจับเพราะพบว่ามีการทำประมงอย่างผิดกฎหมายในน่านน้ำลาตินอเมริกา แต่เจ้าของเรือเลือกที่จะจ่ายสินบน และกลับไปทำประมงอย่างผิดกฎหมายต่อ ซึ่งการใช้ทรัพยากรเกินจากขอบเขตที่กฎหมายกำหนดย่อมส่งผลกระทบไปถึงระบบนิเวศ และตอนนี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

จากปัญหาที่ยกตัวอย่างมา จึงเป็นงานของโครงการ Green Corruption ที่จะร่วมแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันแนวทางที่ประสบความสำเร็จของโครงการ คือการติดตามที่มาทางการเงิน โดยการตรวจสอบว่าเงินมีที่มาจากไหน ผิดกฎหมายหรือไม่ และจะนำไปสู่ตัวการของการคอร์รัปชันได้ ซึ่งที่ผ่านมาแนวทางนี้ได้นำไปสู่การลงโทษคนผิดได้สำเร็จมาแล้วหลายครั้ง นอกจากนี้โครงการยังได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางธรรมชาติในการต่อต้านการทุจริต เช่น เปรู โบลิเวีย เอกวาดอร์ ยูกันดา มาลาวี และอินโดนีเซีย โดยโครงการจะเข้าไปเสริมสร้างศักยภาพ สร้างความร่วมมือ ป้องกัน และควบคุมความเสี่ยงการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I รู้จัก Green Corruption โครงการป้องกันการคอร์รัปชันด้านสิ่งแวดล้อม

เราต่างรู้กันดีว่าคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกและส่งผลอย่างรอบด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือด้านสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในหน่วยงานที่กำลังต่อสู้กับปัญหานี้อยู่คือ Basel Institute on Governance องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร …

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I ปัญหาสิทธิที่ดินมีทางเเก้ เเละเรื่มต้นเเล้วที่แอฟริกาใต้สะฮารา

ศึกษาปัญหาสิทธิในที่ดินของภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา…ที่ประเทศไทยก็สามารถนำแนวทางมาใช้ได้ โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติได้มีการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการเลือกปฏิบัติและการทุจริตในภาคที่ดิน

You might also like...

KRAC Extract | LGBTQI+ กับคอร์รัปชัน: เมื่อศักดิ์ศรีถูกลดค่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

ชวนเจาะลึกรายงาน “The Impacts of Corruption on LGBTQI+ Rights” ที่เผยให้เห็นว่า การคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันกระทบต่อชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้คน มาร่วมเรียนรู้ว่า เราจะสร้างนโยบายต้านคอร์รัปชันที่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด