KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I กัวเตมาลา ประกาศเดินหน้าปราบปรามคอร์รัปชัน

กัวเตมาลาร่วมมือ 3 กระทรวงสำคัญ ตรวจสอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง 1,430 ฉบับ

กัวตามาลา ประเทศที่ติดกับทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก เป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชันที่รุนแรง โดยตั้งแต่ปี 2017 กัวเตมาลามีดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ที่ลดลงเกือบทุกปี จนทำให้ปัจจุบันประเทศนี้มีคะแนนเพียง 23 คะแนนและอยู่ในอันดับ 154 จาก 180 ประเทศ

ช่วงเวลาที่ผ่านมา กัวเตมาลามีความพยายามอยู่เสมอในการต่อต้านการทุจริตซึ่งในปีนี้ประธานาธิบดี Bernardo Arévalo ได้มีการแต่งตั้งผู้นำหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชัน (Comisión Nacional contra la Corrupción : CNC) คนใหม่ คือนาย Santiago Palomo ทนายความชาวกัวเตมาลาที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจาก Harvard Law School ซึ่งทาง InSightCrime สื่อเจาะลึกของสหรัฐฯ ได้สัมภาษณ์ Palomo เกี่ยวกับก้าวต่อไปของเขาในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในกัวเตมาลา

Palomo ให้สัมภาษณ์โดยอธิบายถึงความล้มเหลวของกัวเตมาลาตลอดเวลาที่ผ่านมาโดยเขามองว่า เป็นเพราะภาคการเมืองของประเทศยังขาดความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ประเทศชินชากับการถูกผู้มีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์ และกลยุทธ์การปราบปรามที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐที่ไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่ฝังรากลึกอยู่ในประเทศได้ ซึ่งการจะแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเกมยาวที่ต้องเริ่มจากการวางรากฐานเพื่อป้องกันการคอร์รัปชันจากรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพและมีความยุติธรรม

ในด้านการปราบปราม Palomo ระบุว่าต้องให้ความสำคัญกับ 3 กระทรวงสำคัญ คือกระทรวงคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานและเคหสถาน (CIV) กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม (MSPAS) และกระทรวงศึกษาธิการ (MINEDUC) เพราะมองว่าในกระทรวงต่าง ๆ เหล่านี้มีการคอร์รัปชันที่รุนแรงมากที่สุด โดยเฉพาะงบประมาณเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในการก่อสร้างที่เปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจค่อนข้างมาก รวมทั้งยังขาดความโปร่งใส ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดคอร์รัปชันสูง

ปัจจุบันหน่วยงาน CNC ที่ Palomo ดูแลอยู่ และกระทรวง CIV ได้ร่วมมือกันในการตรวจสอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกว่า 1,430 ฉบับ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น จึงได้ส่งเรื่องนี้ไปยังอัยการสูงสุดของประเทศแล้ว นี่นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของ Palomo ในฐานะผู้นำ CNC คนใหม่ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาคอร์รัปชันในกัวเตมาลาซึ่งอาจต้องติดตามกันต่อไปว่าเขาจะช่วยลดคอร์รัปชันได้มากน้อยแค่ไหน และกัวเตมาลาในอนาคตจะมีคะแนน CPI ที่ดีขึ้นหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงของกัวเตมาลาในครั้งนี้ ทำให้ต้องย้อนกลับมามองประเทศไทย เพราะเมื่อปีที่ผ่านมาเราเพิ่งได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงน่าตั้งคำถามว่าปัจจุบันการแก้ปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยเริ่มทำอะไรไปแล้วบ้าง ?

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เปลี่ยนนโยบายคลัง ป้องกันคอร์รัปชันด้วยแนวทางเพิ่มความโปร่งใส

KRAC คัดสรรชวนทุกคนมาร่วมศึกษาความโปร่งใสของงบประมาณการคลังของไทย พร้อม 5 แนวทางเพิ่มความโปร่งใสจากงานวิจัย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

You might also like...

KRAC Insight | นโยบายรัฐบาลเปิดของเอสโตเนีย: การสร้างความโปร่งใสของภาครัฐที่ตรวจสอบได้

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเส้นทาง “รัฐบาลเปิด” ของเอสโตเนีย ตั้งเเต่การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเปิดเพื่อเพิ่มความโปร่งใส พร้อมบทสรุปข้อคิดที่ไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

ในปัจจุบัน การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจีนสมัยใหม่หรือจีนร่วมสมัยในสังคมไทย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นเรื่อง “ทุนจีนเทา”(Grey Capital) นับเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจ เนื่องมาจากความเชื่อมโยงของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของพื้นที่ในสังคมไทยที่ทุนจีนเทาเหล่านี้เข้าไปมีอิทธิพลและดำรงอยู่

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I ชวนรู้จัก TI กับ 6 ประเด็นใหญ่ที่ผลักดันความโปร่งใส ปี 2024

เพราะการต่อต้านคอร์รัปชันต้องสร้างความโปร่งใสชวนดู 6 ประเด็นที่ TI ผลักดันเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา จะมีอะไรบ้าง ? ติดตามอ่านได้ที่นี่เลย