งบโปร่งใส ส.ส. ตรวจสอบได้ Statsregnskapet

ข้ามมาอีกทวีปหนึ่งกันบ้าง กับไอเดียใช้ข้อมูลจับตาโปร่งใสของภาครัฐ กับประเทศสแกนดิเนเวียที่ขึ้นชื่อว่าโปร่งใส ไร้คอร์รัปชันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เราจะขอยกตัวอย่างเทคโนโลยี Open data ที่ชาวนอร์เวย์ใช้กันในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล อย่างเว็บไซต์ Statsregnskapet

นอร์เวย์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอัตราการคอร์รัปชันน้อยที่สุดในโลกด้วยการทำงานของรัฐบาลที่มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งนอร์เวย์เป็น 1 ใน 8 ประเทศผู้ริเริ่มความร่วมมือระหว่างกันภายใต้แนวร่วมรัฐเปิด (Open Government Partnership: OGP) ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบันรัฐบาลนอร์เวย์ยังคงเดินหน้าตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติ Fourth Norwegian Action Plan : Open Government Partnership (OGP) เพื่อเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐและต่อต้านการคอร์รัปชัน

เราจะขอยกตัวอย่างเทคโนโลยี Open data ที่ชาวนอร์เวย์ใช้กันในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล อย่างเว็บไซต์ Statsregnskapet ที่พัฒนาขึ้นโดยภาคเอกชน ร่วมมือกับรัฐบาลสร้างแพลตฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐบาลและงบประมาณที่เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยเว็บไซต์จะแสดงข้อมูลตั้งแต่แหล่งที่มางบประมาณ งบประมาณถูกใช้ไปกับอะไรและโดยหน่วยงานใด รวมถึงการใช้งบประมาณนั้นก่อให้เกิดการพัฒนามากน้อยแค่ไหน

หรืออีกหนึ่งตัวอย่างของแพลตฟอร์ม Open data จากนอร์เวย์คือ เว็บไซต์ Folk på tinget ซึ่งชนะการแข่งขัน #hack4no 2017 Hackathon ที่นอร์เวย์และได้รับการพัฒนาต่อโดยภาคสาธารณชนและภาครัฐ โดยเว็บไซต์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความโปร่งใสในการทำงานของคณะผู้แทนในรัฐสภา ให้คำตอบที่ได้รับจากรัฐบาลสามารถเข้าถึงได้ง่าย และนำเสนอประเด็นร้อนที่กำลังมาแรงในการประชุมสภา แสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบฟังก์ชันการค้นหาและสถิติ

ขณะที่ภาครัฐเองก็มีแพลตฟอร์มอย่าง The National Data Catalog เป็นเว็บไซต์สาธารณะที่ให้ประชาชนสามารถเข้าไปค้นหาชุดข้อมูล นโยบาย และการทำงานในโครงการต่างๆ ของรัฐได้อย่างง่าย โดยมีข้อมูล 6900 กว่าชุดให้สามารถเข้าไปสืบค้นตามหมวดหมู่ต่าง ๆ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรูปแบบเทคโนโลยี Open data ที่ถูกใช้เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาลนอร์เวย์ ซึ่งการมีเทคโนโลยีที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลงบประมาณได้อย่างง่ายดายเช่นนี้ ทำให้นอร์เวย์ได้รับการจัดอันดับ The Global Open Data Index จากมูลนิธิความรู้เปิด (Open Knowledge Foundation: OKFN) ว่าเป็นประเทศที่มีระดับการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐสูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกตีคู่มากับแคนาดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเปิดเผยข้อมูลงบประมาณจากภาครัฐที่นอร์เวย์ได้รับคะแนนสูงที่สุด

แล้วคุณล่ะ มีไอเดียที่อยากสร้างความโปร่งใสให้รัฐ เพื่อให้ประชาชนอย่างเราร่วมจับตาการทำงานแบบนี้บ้างไหม ถ้าปิ๊งไอเดียแล้ว เก็บไว้ให้ดี แล้วมาปล่อยของไปด้วยกันในกิจกรรมของเราที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่อึดใจ!

🚩 Statsregnskapet
ประเทศ : นอร์เวย์
ประเภทเครื่องมือ :
Public Accounts and Open Spending
ผู้จัดทำเครื่องมือ 
 The Norwegian Government Agency for Financial Management

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

แพลตฟอร์ม ACT Ai Politics Data ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลความโปร่งใสของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ

เพราะการเปิดข้อมูลของภาครัฐยังมีช่องโหว่ จึงต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วยปลายนิ้วของทุกคน

งบโปร่งใส ส.ส. ตรวจสอบได้ Statsregnskapet

ข้ามมาอีกทวีปหนึ่งกันบ้าง กับไอเดียใช้ข้อมูลจับตาโปร่งใสของภาครัฐ กับประเทศสแกนดิเนเวียที่ขึ้นชื่อว่าโปร่งใส ไร้คอร์รัปชันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เราจะขอยกตัวอย่างเทคโนโลยี Open data ที่ชาวนอร์เวย์ใช้กันในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล อย่างเว็บไซต์ Statsregnskapet

MAMPRAWOWIEDZIEC.PL เปิดข้อมูลประวัติการทำงานนักการเมือง

จะเลือกตั้งแต่ละที นักการเมืองคนนี้เก่งจริงหรือเปล่า เราจะรู้ได้ยังไง ? น่าจะดีถ้าเราสามารถย้อนดูได้ว่านักการเมืองแต่ละคนมีผลงานเป็นอย่างไร เพราะแค่นโยบายบนป้ายหาเสียงคงไม่พอ

You might also like...

บทความวิจัย : การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริต

การรวบรวมกรณีศึกษาเกี่ยวกับคดีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริตทั้งในและต่างประเทศ เพื่อศึกษาแนวทางการตัดสินคดี

บทความวิจัย : การประยุกต์ใช้เทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่ม สําหรับศึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดของนักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

นำเสนอเทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่มของกรีนเบิร์ก เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต

บทความวิจัย : คอร์รัปชันกับขนาดที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาล

แนวคิด “ขนาดที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาล” โดย Barro ละเลยปัจจัยเรื่องการคอร์รัปชันในหน่วยงานรัฐ จนนำไปสู่การตั้งคำถามและการศึกษา ซึ่งพบว่า การคอร์รัปชันส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุด