บทความวิจัย | ฆราวาสธรรม 4 ประเภท: การป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน

การนำหลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ มาใช้ในการแก้ไขการทุจริตจะทำให้ผู้คนมีการดำเนินชีวิตด้วยความสุจริตไม่คดโกง ฝึกจิตใจไม่ให้เกิดความโลภในสิ่งที่ไม่ใช้ของตน อดทนต่อสิ่งยั่วยุ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ

บทความวิจัย | พุทธบูรณาการกับศาสตร์พระราชาในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันประเทศไทย

การนำเอาแนวคิดทางพุทธ คือ สัมมัปปธาน 4 บูรณาการกับศาสตร์พระราชา ได้แก่ มีวินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู มาประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมจะทำให้เกิดการแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความวิจัย | บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

การแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและรายงานการทำงานของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานที่ทำงานด้านการตรวจสอบการทุจริตสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ครอบคลุมและลดโอกาสของการถูกปกปิดข้อมูล

บทความวิจัย | การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา

KRAC The Experience | EP 7: Standing on my own, Operations Like Private Sector

“ทำยังไงให้การทำงานต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาสังคมนั้นยั่งยืน ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก 🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน “Standing on my own, Operations Like Private Sector

บทความวิจัย | การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น (ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี)

การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่นควรนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการบริหารจัดการเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตและขยายการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการเป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูล การประสานงาน และการขับเคลื่อนเครือข่ายฯ

บทความวิจัย | รูปแบบความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย โดยศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

การยกระดับความร่วมมือและการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย ต้องอาศัยการสร้างประชาธิปไตยแบบเข้มข้น โดยเน้นไปยังการสร้างระบบและกลไกให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การแก้ไขกฎหมาย ลดการผูกขาดทางการตลาดและการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

บทความวิจัย | บทบาทหน้าที่ อุปสรรค และแนวทางในการใช้สื่อเพื่อต่อต้านการทุจริต

การพัฒนาสื่อไทยเพื่อการต่อต้านการทุจริตควรทำให้สื่อสามารถพึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ ใช้สื่อเพื่อทําข่าวทุจริต พัฒนาทักษะการทําข่าว และเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ