ทำยังไงให้การทำงานต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาสังคมนั้นยั่งยืน ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน “Standing on my own, Operations Like Private Sector”
ความเดิมตอนที่แล้วของ “KRAC The Experience” เราได้พาทุกท่านไปดูแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่ให้ภาคการศึกษาเป็นผู้รันวงการต่อต้านคอร์รัปชัน จากการเดินทางของ ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) ที่ได้รับทุน Eisenhower Fellowships 2024 แล้วภาคประชาสังคมต่าง ๆ ที่ทำงานต่อต้านคอร์รัปชันควรมีแนวทางการทำงานอย่างไร ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้
นอกจากการให้ภาควิชาการเป็นตัวกลางในการดำเนินงานเพื่อสร้างเสรีภาพในการถกเถียง รวมถึงสร้างเสถียรภาพในการทำงานที่ไม่ต้องกังวลกับความไม่แน่นอนทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจทำให้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันเปลี่ยนไปแล้ว อีกภาคส่วนหนึ่งที่มีการให้ความสำคัญในการร่วมต่อต้านคอร์รัปชันคือ “ภาคประชาสังคม”
ภาคประชาสังคมมักต้องพึ่งพาทรัพยากรภายนอก โดยเฉพาะเงินทุนจากภาคเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานขององค์การ ซึ่งหลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา (United State of America: USA) มีความเห็นว่า “องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานต่อต้านคอร์รัปชันควรมีการจัดการทางการเงินแบบภาคเอกชน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างยั่งยืน”
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันในสหรัฐฯ มองว่าการทำงานแบบภาคเอกชนหรือ “ดำเนินการด้วยการพึ่งพาทุนของตนเอง” มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้องค์กรอยู่รอด การหาแหล่งรายได้จึงควรมีการปรับเปลี่ยนให้คล้ายคลึงกับการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน เช่น การพัฒนาโครงการเชิงธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำกำไรได้ รวมถึงการร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชนในการทำงานต่าง ๆ
การดำเนินการแบบภาคเอกชนหรือการสร้างรายได้ด้วยตนเองของภาคประชาสังคม จะสร้างผลดีจากการรักษาความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากผู้บริจาคหรือหน่วยงานที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน ตลอดจนความเกรงใจที่อาจต้องมีต่อหน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้สนับสนุน ทั้งนี้หากมีการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่องก็อาจเป็นการเปิดและสร้างโอกาสที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมหรือเครื่องมือใหม่ๆ ในการตรวจสอบและควบคุมการคอร์รัปชันได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถขยายขอบเขตการทำงานไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มภาคเอกชนที่มีความสำคัญต่อการสนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับมหภาค
แนวทางดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการบูรณาการแนวทางการทำงานแบบภาคเอกชนในการรักษาความยั่งยืนทางการเงิน เพื่อให้องค์การเหล่านี้สามารถอยู่รอดและทำหน้าที่สำคัญในการสร้างความโปร่งใสและต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน หากสามารถนำแนวทางนี้มาใช้ในประเทศไทย ก็อาจเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคม
ในประเทศไทย บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม (HAND Social Enterprise) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างขององค์การที่นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ โดยมีการบริหารจัดการในลักษณะของวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งเน้นการบริหารจัดการให้มีความยั่งยืนทั้งการมีเงินทุนจากการทำงานและการคืนคุณค่าสู่สังคม ซึ่งคล้ายกับแนวทางขององค์การภาคประชาสังคมในสหรัฐฯ ที่ต้องการความสามารถในการจัดหาแหล่งรายได้และรักษาความมั่นคงในระยะยาวผ่านการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ รวมถึงการให้คำปรึกษาและพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการสร้างกลไกต้านโกงผ่านงานวิชาการและการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์
การดำเนินงานขององค์การภาคประชาสังคมที่ทำงานต่อต้านคอร์รัปชันในสหรัฐฯ ที่ปรับใช้รูปแบบการจัดการทางการเงินแบบภาคเอกชนทำให้เห็นว่า “การต่อต้านคอร์รัปชันสามารถเริ่มต้นและดำเนินงานได้จากภาคประชาสังคม” ซึ่งภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงในการดำเนินงานผ่านการหาแหล่งรายได้ที่หลากหลายและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การพัฒนากลไกการจัดการทางการเงินแบบธุรกิจที่สามารถทำกำไรและการร่วมมือกับองค์กรเอกชนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้องค์กรภาคประชาสังคมสามารถต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง โดยการปรับใช้แนวคิดการทำงานแบบเอกชนยังช่วยให้องค์กรเหล่านี้สามารถรักษาความเป็นอิสระในการดำเนินงาน และไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกเพียงอย่างเดียว
ในครั้งนี้เราจะเห็นว่า “ภาคประชาสังคม” ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันนั้นอาจต้องมีการปรับตัวสู่การเป็นภาคเอกชนเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างยั่งยืน แล้วในตอนถัดไปจะเป็นเรื่องอะไร ? ติดตามตอนต่อไปได้ใน “KRAC The Experience” ที่ KRAC Corruption เพื่อร่วมเรียนรู้การนำข้อมูลเปิดมาใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชันไปด้วยกัน
ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน
ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน
มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ
ชวนเรียนหลักสูตรต่อต้านคอร์รัปชัน และการส่งเสริมธรรมาภิบาลร่วมสมัยกับ 6 ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน
ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย