คะแนนร่วง แต่อันดับเพิ่ม ผลคะแนน CPI 2567 ของไทย ภาพสะท้อนสถานการณ์คอร์รัปชันทั่วโลกย่ำแย่

คะแนนร่วง แต่อันดับเพิ่ม 

 
จบไปแล้วสำหรับการติดตามผลคะแนน “ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน (Corruption perceptions Index: CPI)” ประจำปี 2567 ซึ่งประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 34/100 คะแนน ในอันดับที่ 107 ของโลก ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 43 คะแนน นั่นหมายความว่าเราอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนั่นเอง
 
น่าสนใจว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 คะแนนดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันของไทยลดลง 1 คะแนน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับทั้งโลกอันดับเราดีขึ้น 1 อันดับ นั่นสะท้อนว่าสถานการณ์คอร์รัปชันทั่วโลกเลวร้ายลงกว่าเดิม เพราะค่าเฉลี่ยลดลงมา 2 คะแนน จากเดิม 45 คะแนน

เจาะคะเเนนดัชนีองค์ประกอบ CPI ข

 

คะแนนส่วนใหญ่ที่ลดลงอยู่ในกลุ่มดัชนีที่เกี่ยวข้องกับมุมมองของนักลงทุน และผู้ประกอบการ

 

ทั้งนี้ เมื่อเราเจาะลึกไปที่ดัชนีองค์ประกอบที่ถูกนำมาใช้คำนวณพบว่าคะแนนส่วนใหญ่ที่ลดลงอยู่ในกลุ่มดัชนีที่เกี่ยวข้องกับมุมมองของนักลงทุน และผู้ประกอบการในภาคเอกชน โดยเฉพาะในมิติของการแข่งขัน (IMD World Competitiveness Yearbook) ที่ลดลง 7 คะแนนจากปีก่อนหน้า

 

ในขณะที่ผลการประเมินในมิติการเมืองและโครงสร้างทางกฎหมายของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นในเกือบทุกมิติ

สถิติคะแนน CPI ของประเทศอาเซียน 

 

เปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยหล่นมาอยู่อันดับ 5 ของอาเซียน โดยตามหลังสิงค์โปร์ (84 คะแนน) มาเลเซีย (50 คะแนน) เวียดนาม (40 คะแนน) และอินโดนีเซีย (37 คะแนน) ตามลำดับ

4 ข้อเสนอเเนะจาก TI สำหรับปี 2025 

 

โดยทิศทางที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติให้ความสำคัญในปี 2025 คือคอร์รัปชันกับวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นเทรนด์สำคัญที่ต้องจับตามองและต้องส่งเสริมให้เกิดแนวทางการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต

 
ข้อเสนอแนะจำนวนมากมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในภาคสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม การผลักดันการติดตามลงโทษผู้กระทำผิด มุ่งเน้นความโปร่งใส การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมบทบาทของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานด้านนี้
 
โดยสรุปแม้คะแนนดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันจะไม่ได้บ่งบอกสถานการณ์จริงของการคอร์รัปชันในประเทศนั้น แต่คงปฏิเสธว่าคะแนนนี้ช่วยให้เราเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าการทำงานเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันยังมีความจำเป็นมากขึ้น
 
ยิ่งกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งประเทศไทยยังคงมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในส่วนนี้ค่อนข้างน้อย ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทางศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาคเล็งเห็นว่าจำเป็นต้องมีการสนับสนุนที่มากขึ้นในอนาคต
 
สามารถอ่านรายงานโดยละเอียดได้ที่: https://www.transparency.org/en/cpi/2024

 

หรือรับฟัง Live ประกาศผล CPI 2568! ไทยจะดีขึ้นหรือไม่? พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มล่าสุดไปกับ KRAC Corruption ที่ลิงก์ด้านล่างได้เลย

You might also like...