บทความวิจัย | การประยุกต์ใช้เทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่ม สําหรับศึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดของนักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

นำเสนอเทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่มของกรีนเบิร์ก เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต 

 

การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้เทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่ม สําหรับศึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดของนักศึึกษาสาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าสัดส่วนพฤติกรรมเชิงปกปิด ของคณะนักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  

ศึกษาโดยเทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่มของกรีนเบิร์กและคณะ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงปกปิดของนักศึกษาสาขาสถิติเชิงประยุกต์สาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 

ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมเชิงปกปิดใน 7 ประเด็น ได้แก่ การดื่มสุรา การทุจริตในการสอบ การมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนนักศึกษา การทุจริตเรื่องเงินถ้ามีโอกาส การสูบบุหรี่ การเล่นการพนัน การขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น และพบว่า นักศึกษาไม่มีพฤติกรรมเชิงปกปิดใน 2 ประเด็นได้แก่ การดูสื่อลามก และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดผิดกฎหมาย

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ขจิตา สมเนตร และตระหนัก สมเนตร. (2566). การประยุกต่์ใช้เทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่ม สําหรับศึึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดของนักศึึกษาสาขาสถิติประยุกต่์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภััฏอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 12(1), 4657.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ขจิตา สมเนตร 
  • ตระหนัก สมเนตร 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!