บทความวิจัย : กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก

กบฎโพกผ้าเหลือง สะท้อนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาวะวิกฤตศรษฐกิจนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้น เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง รัฐจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชัน ควบคู่ไปกับการดแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี 

 

จากวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก มีการกล่าวถึง “กบฏโพกผ้าเหลืองซึ่งเป็นกบฏใหญ่ในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกที่มีกองกําลังเกิดขึ้นโดยการรวมตัวของประชาชน โดยมีปัจจัยสําคัญที่เกิดขึ้น 2 ประการ ได้แก่ 1) ราชสํานักมีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง 2) สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างที่สุด กบฏกลุ่มนี้ได้ทําให้ความเชื่อมั่นในราชสํานักและกองทัพเสื่อมไป เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้เสถียรภาพทางการเมืองของราชวงศ์ฮั่นเริ่มสั่นคลอน และล่มสลายไปในที่สุด

  

การวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์จากตัวบทวรรณกรรมเรื่อง “สามก๊ก” โดยศึกษาในประเด็นเรื่องกบฎโพกผ้าเหลืองที่สัมพันธ์กับมิติทางด้านการเมือง ทั้งนี้ เพื่อหาปัจจัยเชิงสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งสามารถเป็นกรณีศึกษาในการพัฒนาเสถียรภาพทางการเมืองได้ต่อไป

 

จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาเรื่องกบฎโพกผ้าเหลือง สามารถเชื่อมโยงถึงการเมืองในไทยในประเด็นที่ว่า รัฐบาลไทยจะเกิดเสถียรภาพทางการเมืองได้อย่างมั่นคงจะต้องมีระบบการป้องการทุจริตคอรัปชันอันเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนในการที่จะช่วยกันพัฒนาประเทศ และจะต้องดูแลประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจทั้งระดับจุลภาคและมหภาคให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พระมหาจักรพงศ์ คํายอดใจ และฟองจันทร์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (2564). กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก. วารสารธรรมวัตร, 2(2), 3946.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • พระมหาจักรพงศ์ คํายอดใจ  
  • ฟองจันทร์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!