ผ่างบเมือง ให้งบประมาณเมือง…เป็นเรื่องตรวจสอบได้

งบองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สำคัญกับชีวิตเราอย่างไร? และประชาชนอย่างเรา สามารถมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละจังหวัดได้ไหม?

ที่มาภาพ : ผ่างบเมือง

ถนน เสาไฟ โรงเรียน พื้นที่สาธารณะ ศูนย์พยาบาล…ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่จังหวัดไหน เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ในเมืองได้อย่างมีคุณภาพ การจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานอย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนในแต่ละจังหวัดได้รับประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน

ดังนั้น งบประมาณของจังหวัด จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นสิทธิและหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ควรมีโอกาสช่วยกันออกแบบและตรวจสอบในขั้นตอนการจัดสรรงบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ว่างบประมาณของเมืองเรา ควรใช้และถูกใช้จ่ายไปกับเรื่องอะไรบ้าง

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การสำรวจงบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ไม่ได้ง่ายอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างงบประมาณที่มีความซับซ้อน และยากต่อการทำความเข้าใจของประชาชนทั่วไป ประกอบกับข้อจำกัดด้านการเปิดเผยข้อมูลที่ยังกระจัดกระจาย ไม่เป็น Machine-readable มีแต่เพียงไฟล์ .pdf หรือภาพเท่านั้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้

ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จึงทำการแปลงข้อมูลงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่มีการเผยแพร่ มาไว้ในรูปแบบที่ทุกคนสามารถตรวจสอบได้สะดวกขึ้น ถึงเเม้ว่าประชาชนจะไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้อย่างเต็มที่ แต่เรายังสามารถมีบทบาทในการติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละจังหวัดให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล และมีประสิทธิภาพได้
 
โปรเจกต์นี้ จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้การตรวจสอบการใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในแต่ละจังหวัดทำได้ง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการใช้ ACT Ai ที่จะติดตามกระบวนการใช้จ่ายงบประมาณ ตั้งแต่ขั้นตอนการของบประมาณ ไปจนถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งหมดนี้ เพื่อช่วยให้กระบวนการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นไปอย่างโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
 

จึงขอเชิญชวนมาช่วยกันตรวจสอบงบองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และทำให้งบบ้านเราเป็นเรื่องที่ทุกคนตรวจสอบได้…แต่หากยังไม่มีธงในใจว่าต้องการเจาะจงตรวจสอบตรงจุดไหน แนะนำว่าอาจเริ่มจากการไล่ดูงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเราก่อน เช่น งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานโรงพยาบาล งานด้านการศึกษา งานก่อสร้าง สะพาน ถนน เส้นทางจราจร งานสวัสดิการสังคม

🚩ผ่างบเมือง
ประเทศ : ไทย
ประเภทเครื่องมือ : Detect Corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : องค์กรต่อต้านคอรรัปชัน (ประเทศไทย)

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

HAND SOCIAL ENTERPRISE

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

ผ่างบเมือง ให้งบประมาณเมือง…เป็นเรื่องตรวจสอบได้

งบ อบจ. สำคัญกับชีวิตเราอย่างไร? และประชาชนอย่างเรา สามารถมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละจังหวัดได้ไหม?

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | จะกลัวทำไมมีเมื่อกฎหมายหนุนหลัง ? ชวนส่องกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม

เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่การตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นับว่าเป็นอีกหนึ่งการมีส่วนร่วมที่สำคัญ KRAC คัดสรร ชวนดู กฎหมายมาตราไหน สนับสนุนประชาชนอย่างไรบ้าง ?

KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ? ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”

KRAC Insight | Data Standard: การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

KRAC ชวนฟังทีม Open Data ในเครือข่าย SEA-AC เล่าถึงการจัดการข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Data Standard) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)