พิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง : เข้าสู่โลกของ Virtual Museum เรียนรู้การต้านโกงไปกับ ป.ป.ช.

Virtual Museum ที่จะพาทุกคนไปศึกษาเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน 9 โซนเรียนรู้ที่มีเนื้อหาที่ทันสมัย อร่อยย่อยง่ายเหมาะกับทุกคน

ที่มาภาพ : depa Thailand

พิพิธภัณฑ์ต้านโกงนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของประเทศ ที่เป็นศูนย์กลางและพื้นที่แห่งการเรียนรู้เรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พร้อมทั้งส่งเสริมสังคมแห่งความสุจริตและโปร่งใส ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

เว็บไซต์นี้ มีไฮไลต์อยู่ตรงที่เขาเป็น Virtual Museum แห่งเเรกในไทย ที่จะพาผู้ใช้งานไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงและศึกษาเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในรูปแบบออนไลน์ ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา มาดูกัน ว่ามีฟีเจอร์อะไรน่าสนใจบ้าง !

ฟีเจอร์แรก คือ พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่มาในรูปแบบของ Virtual Museum ทำให้รู้สึกราวกับว่าคุณได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จริง ๆ โดยฟังก์ชันพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงนี้ ประกอบด้วยโซนต่าง ๆ ทั้งหมด 9 โซน ที่จะพาคุณไปสำรวจปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ เช่น โซนลานสนุกคิด ที่จำลองสถานการณ์ต่างพร้อมชวนให้คิดว่าแบบไหนกันแน่ที่ว่าโกง โซนกำจัดกลโกง ที่รวบรวมวิธีปราบปรามคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ โซนวันชี้ชะตา ที่พาไปชมการต่อสู้ของภาคประชาชนในคดีทุจริตต่าง ๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นอื่น ๆ ที่น่าสนใจด้วย เช่น ฟังก์ชันหอจดหมายเหตุ ที่รวบรวมประวัติความเป็นมาของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศไทย ฟังก์ชันนิทรรศการหมุนเวียนร่วมสมัยการต่อต้านการทุจริต และฟังก์ชันศูนย์การเรียนรู้ด้านทุจริตศึกษา ที่รวบรวมหลักสูตรด้านทุจริตศึกษามาให้ทุกคนได้เรียนกัน

โดยรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ มานำเสนอด้วยการเล่าเรื่องที่ไม่ซับซ้อน พร้อมภาพประกอบที่ทำให้เข้าใจง่าย เช่น บทความต้านโกง ที่ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน เส้นทางต้านโกง อินโฟกราฟิกที่รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการต่อสู้กับคอร์รัปชันนับตั้งแต่อดีต โดยพาย้อนเวลาไปนั่งแกะศิลาจารึกพ่อขุนรามตั้งแต่สมัยสุโขทัย พาสำรวจระบบเจ้าขุนมูลนายในสมัยอยุธยา เรื่อยมาจนกระทั่งการต้านโกงสมัยรัตนโกสินทร์ที่ดำเนินการโดยรัชกาลต่าง ๆ กระทั่งถึงเวลา ณ ปัจจุบัน

สุดท้าย คือ ฟีเจอร์ E-Learning ระบบห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่รวบรวมความรู้พื้นฐานด้านทุจริตคอร์รัปชันหลากหลายหัวข้อด้วยกัน ได้แก่ หัวข้อการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม หัวข้อความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต หัวข้อพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม และหัวข้อจิตพอเพียงต้านทุจริต โดยเนื้อหาทั้งหมดนี้มาพร้อมกับ E-book ที่สามารถดาวน์โหลดมาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ครบเครื่องขนาดนี้ อย่ารอช้า รีบชวนเพื่อน ๆ มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันได้เลย 

🚩 พิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง
🚩 ดำเนินการโดย : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงาน
05_โลโก้ KRAC

หัวข้อ
Related Content

พิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง : เข้าสู่โลกของ Virtual Museum เรียนรู้การต้านโกงไปกับ ป.ป.ช.

Virtual Museum ที่จะพาทุกคนไปศึกษาเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน 9 โซนเรียนรู้ที่มีเนื้อหาที่ทันสมัย อร่อยย่อยง่ายเหมาะกับทุกคน

The U4 Anti-Corruption Resource Centre : ศูนย์กลางงานวิจัยและคอร์สเรียนรู้ด้านคอร์รัปชันที่ทันสมัย

เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่สนใจสืบค้นนโยบายและมาตรการในการต่อต้านคอร์รัปชัน หรือต้องการใช้บริการคอร์สอบรมต่าง ๆ

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!