โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้วางมาตรการทางกฎหมาย และกำหนดบทบาทขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการทุจริตให้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการควบคุมตรวจสอบการทุจริต โดยเฉพาะตามมาตรา 221 มาตรา 244 และมาตรา 245 ที่บัญญัติให้องค์กรอิสระ มีบทบาทร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในเชิงรุกมากขึ้น ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น ซึ่งต่างจากอดีตที่จะเข้ามาดำเนินการ เมื่อมีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตและมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการบัญญัติหลักการใหม่เช่นนี้ขึ้นในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังไมมีงานวิจัย หรือข้อเสนอทางวิชาการที่ศึกษาในรายละเอียด เพื่อแสดงกลไกและมาตรการในการทำงานร่วมมือกันขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาสู่การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว

โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ บทบาทหน้าที่และอำนาจ ตลอดจนความเชื่อมโยงในการทำงานของแต่ละองค์กร และนำไปกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่ากลไกความร่วมมือนี้ ยังคงมีลักษณะของการทำงานเชิงแก้ไขมากกว่าการทำงานในเชิงป้องกันไม่ให้การกระทำที่ไม่พึงประสงค์ หรือผลที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น คณะผู้วิจัย จึงเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จะวางบทบัญญัติความร่วมมือระหว่างองค์กรอิสระไว้ แต่เป็นความร่วมมือสำหรับดำเนินงานในการตรวจสอบ ปราบปราม เชิงแก้ไขในการกระทำหรือผลแห่งการกระทำที่เกิดขึ้นเล้ว หากจะนำเสนอให้มีกลไกความร่วมมือในเชิงป้องกัน คงจะอ้างอิงเพื่อปรับใช้บทบัญญัติเหล่านี้ไม่ได้ คงจะได้เพียงอ้างอิงถึงความพยายามที่จะให้เกิดความร่วมมือในระหว่างองค์กรอิสระเท่านั้น และเพื่อให้เกิดความร่วมมือ องค์กรอิสระ จะต้องมากำหนดรายละเอียดของกลไกในการร่วมมือกันอีก โดยจะต้องมีกฎหมายแม่บท หรือกฎหมายลำดับรองประกาศ รวมถึงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างหน่วยงาน
  • ผลจากการศึกษากลไกเกี่ยวกับการพิจารณาจัดทำและอนุมัติงบประมาณ พบว่ามีเพียงกลไกเชิงป้องกันตามมาตรา 144 ที่เกี่ยวกับข้อห้ามในการแปรญัตติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการของสภา นอกนั้นจะเป็นการกำหนดกรอบกว้าง ๆ สำหรับการจัดทำและพิจารณาอนุมัติงบประมาณ แต่ยังไม่พบกลไกในการตรวจสอบที่ชัดเจน ซึ่งกลไกนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้พรรคการเมืองมีความรับผิดชอบทางการเงินการคลังมากยิ่งขึ้น หากต่อมาได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลและนำนโยบายที่หาเสียงมาเป็นนโยบายดำเนินการของรัฐบาล พรรคการเมืองนั้น ก็จะต้องจัดทำงบประมาณตามที่เสนอมา อย่างไรก็ดี หลายพรรคการเมืองยังคงเสนอแหล่งเงินแบบไม่ชัดเจน หรือไม่มีการปฎิบัติตามกลไกดังกล่าว
  • ผลจากการศึกษา ได้จัดทำเป็นข้อเสนอเเนะ สรุปได้ ดังนี้ 
    1. ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไประดับชาติในอนาคตข้างหน้า ควรมีการนำระบบ หรือกลไกการประมาณการดังกล่าวนี้ไปใช้ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อจะได้ทดสอบการทำงานของกลไกที่จะได้ถูกออกแบบขึ้นว่ามีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงไร
    2. สำหรับแนวทางการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบายของพรรคการเมือง และนโยบายของรัฐบาลในฐานะที่เป็นระบบปกตินั้น องค์กรที่จะจัดตั้งขึ้น ควรให้อยู่ในสังกัดของฝ่ายรัฐสภา เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ ทั้งนี้ อาจพิจารณายกระดับหน่วยงานประจำที่มีอยู่ คือ สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ขึ้นเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้สายบังคับบัญชาในระบบราชการปกติ เพื่อให้การทำงานไม่ถูกอิทธิพลของข้าราชการประจำ หรือข้าราชการการเมืองในฝ่ายรัฐสภาเข้ามาแทรกแซงการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ปกป้อง ศรีสนิท, กรรภิรมย์ โกมลารชุน, ณภัทร สรอัฑฒ์ และรณกรณ์ บุญมี. (2561). การพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • ปกป้อง ศรีสนิท
  • กรรภิรมย์ โกมลารชุน
  • ณภัทร สรอัฑฒ์
  • รณกรณ์ บุญมี
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น