KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I การต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศเกาหลีใต้ ถูกยกเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีใน G20

G20 คืออะไร ?

G20 คือกลุ่ม 20 ประเทศที่ประกอบด้วย 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา และ 11 ประเทศระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และตุรกี รวมกับกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งจุดประสงค์คือการรวมตัวกันเพื่อการประชุมหารือสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเงินของโลก โดยจะจัดขึ้นทุกปี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551

ซึ่งในการประชุม G20 ครั้งที่ 17 ปี 2565 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ในฐานะประเทศสมาชิก ได้นำเสนอ “ระบบการมีส่วนร่วมและหลักสูตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน” ที่ร่างโดยคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมืองแห่งเกาหลีใต้ (Anti-Corruption and Civil Rights Commission : ACRC) และได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกให้เป็นหนึ่งภาคผนวกปฏิญญาผู้นำ G20 หรือคำมั่นสัญญาที่ผู้นำประเทศในกลุ่มจะนำไปปฏิบัติตาม โดยเนื้อหาของระบบการต่อต้านคอร์รัปชันดังกล่าว เป็นการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการต่อต้านการทุจริตให้กับประชาชน และสร้างค่านิยมสุจริตให้สังคม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

แนวทางการปฏิบัติเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมตรวจสอบสำรวจมุมมองประชาชนที่มีต่อความสุจริตของหน่วยงานรัฐ สร้างระบบการร้องเรียนการทุจริตผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แนวทางการฝึกอบรมหลักสูตรการต่อต้านทุจริตสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสำหรับเยาวชนรุ่นต่อไปในการป้องกันคอร์รัปชัน ฝึกอบรมเรื่องการแสดงหุ่นเชิดที่สะท้อนถึงความซื่อสัตย์ให้กับเด็ก ฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมตอนต้นเกี่ยวกับศีลธรรมและจริยธรรม ฝึกอบรมการโครงการหนังสั้น (Web Drama) สะท้อนเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต

จุดเด่นของแนวทางปฏิบัตินี้คือการสร้างการมีส่วนร่วมของสังคมและการเน้นพัฒนาตัวบุคคลด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจากรายละเอียดเนื้อหาจะเห็นว่ามีความพยายามสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งในการตรวจสอบและการประเมินหน่วยงานรัฐ และยังตั้งใจที่จะพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้สามารถ นำความรู้ไปพัฒนาเยาวชนรุ่นต่อไปในด้านของคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะสร้างรากฐานระยะในการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับสังคม

Lim Yoon-Ju ผู้ช่วยประธานสำนักงานวางแผนและประสานงานของ ACRC ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “แนวทางดังกล่าวจะช่วยเปิดโอกาสให้ประชาชนเกาหลีมีส่วนร่วมมากขึ้นและรับการฝึกอบรมในการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมกับหลายประเทศในประชาคม และ ACRC จะสร้างความมั่นใจว่าคุณค่าและค่านิยมสุจริตจะถูกเผยแพร่ในสังคมต่อไป”

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

บทความวิจัย : นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน

การศึกษาสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชันและการให้สินบน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การปรับทัศนคติของสังคม และโครงสร้างทางอำนาจของรัฐ

บทความวิจัย : การแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัลตามแนวพุทธจริยธรรม

หิริโอตตัปปะ ฆราวาสธรรม และทิศ 6 หลักธรรมที่ควรนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัล เพราะการแก้ปัญหาอาจต้องย้อนกลับไปแก้ไขที่รากเหง้า คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

บทความวิจัย : กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก

“กบฎโพกผ้าเหลือง” สะท้อนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้น เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง รัฐจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชัน ควบคู่ไปกับการดูแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี