โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

กรอบความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแก้ไขปัญหาการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ 2 ฉบับ หนึ่งในนั้น คือ อนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ (OECD Convention on Combating Bribery of Foreign Public Officials in International Business Transactions) ซึ่งเป็นกรอบความตกลงในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ OECD Convention ที่มีความสำคัญมาก และมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการค้าและการลงทุนในประเทศสมาชิก OECD ดังนั้น การที่ประเทศไทยพิจารณาเข้าเป็นภาคีใน OECD Convention จึงเป็นแนวทางเชิงนโยบายที่สำคัญ ที่ประเทศไทยจะได้เข้าร่วมกระบวนการและพัฒนามาตรการที่รับการถ่ายทอด และติดตามตรวจสอบจากกลุ่มประเทศที่มีประสบการณ์ชั้นนำของโลก 
 
จึงเป็นที่มาของงานวิจัยเรื่องนี้ ที่มุ่งศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ โดยวิธีการศึกษา ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) โดยศึกษาวิเคราะห์อนุสัญญา UNCAC และ OECD Convention การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (focus group) เพื่อระดมสมองและรับฟังข้อคิดเห็นจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีส่วนได้เสีย และการจัดเวทีสาธารณะ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง
 
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
  • ผลการศึกษาการดำเนินการตามพันธกรณีเรื่องการต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศตามกรอบ OECD Convention ทั้งหมด 14 ประเด็น พบว่ามีเพียง 4 ข้อเท่านั้น ที่อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีความพร้อมแล้ว นอกนั้นจำเป็นต้องมีการออกกฎหมาย หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเดิมที่มีอยู่ เพื่อรองรับพันธกรณีดังกล่าว สำหรับข้อที่ประเทศไทยไม่มีความพร้อมเลยในการขอเข้าเป็นภาคีตามเงื่อนไขของ OECD Convention ได้แก่ หนึ่ง ฐานความผิดอาญาว่าด้วยการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ และ ความรับผิดของนิติบุคคล ซึ่งยังไม่มีกฎหมายกำหนดรองรับเอาไว้ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยมีบรรทัดฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ไม่มีปัญหาในแง่ของหลักกฎหมายที่จะไม่สามารถออกกฎหมายดังกล่าว จึงเหลือเพียงประเด็นเชิงนโยบายที่จะต้องเร่งผลักดันเท่านั้น นอกจากนี้ ในเชิงบรรษัทภิบาลยังขาดความพร้อมของแนวปฏิบัติภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็ก และความไม่พร้อมในเชิงกระบวนการติดตาม และตรวจสอบที่เรียกว่า “peer pressure” ของ OECD 
  • คณะผู้วิจัย ได้เสนอวิธีการอนุวัติการข้อตกลงระหว่างประเทศตามแนวปฏิบัติของประเทศไทย มี 2 เเนวทาง ดังนี้
    1. การออกกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้มีการบังคับใช้อนุสัญญาดังกล่าวในประเทศไทย แทนที่จะแก้ไขกฎหมายในฉบับต่าง ๆ ซึ่งต้องมีเวลาตรวจสอบและแก้ไข เพราะเมื่อประเทศไทยมีกฎหมายภายใน เพื่อรองรับพันธกรณีที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างประเทศแล้ว การออกกฎหมายในระดับอนุบัญญัติก็สามารถทำได้ทันที 
    2. การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ ผลดีของการอนุวัติการประเภทนี้ คือ ทำให้เกิดความชัดเจนแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ แต่ผลเสีย คือ การแก้ไขกฎหมายในแต่ละฉบับ อาจจะทำให้ระบบของการปฏิบัติการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเสียหายได้ หากการแก้ไขกฎหมายภายในไม่เข้าใจเจตนารมณ์อย่างแท้จริงของข้อตกลงดังกล่าว
  • คณะผู้วิจัย เสนอว่าการออกกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้มีการบังคับใช้อนุสัญญาดังกล่าวในประเทศไทย เป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทย เพราะการออกกฎหมายเฉพาะ เพื่อรองรับพันธกรณีจะสามารถทำได้โดยรวดเร็ว และทำให้มีการปฏิบัติได้ในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ เมื่อประเทศไทยมีกฎหมายภายใน เพื่อรองรับพันธกรณีที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างประเทศแล้ว การออกกฎหมายในระดับอนุบัญญัติก็สามารถทำได้โดยง่าย เเละจะมีผลดีมากกว่าการแก้ประมวลกฎหมายอาญา หรือการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในประเทศไทย
  • คณะผู้วิจัย เสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศไว้ 5 ประเด็น สรุปได้ ดังนี้
    1. ฐานความผิดอาญาว่าด้วยการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ : ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฯ หรือออกกฎหมายใหม่เป็นกฎหมายเฉพาะ เพื่อเป็นการบัญญัติฐานความผิดแม่บทของประเทศในเรื่องนี้ และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ระบุให้ฐานความผิดนี้ เป็นความผิดมูลฐาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันที่เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฯ โดยมีเนื้อหาแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดตามมาตรา 143 (เรียกสินบน) และ 144 (ให้สินบน) รวมทั้งบทนิยาม “เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ” และ “เจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
    2. มาตรฐานความรับผิดของนิติบุคคล : ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความชัดเจน ได้เเก่ ความรับผิดของนิติบุคคล (ทั้งทางอาญา แพ่ง และปกครอง) มาตรฐานความรับผิดของนิติบุคคล (ตามแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD Convention) และความรับผิดของผู้บริหารนิติบุคคล (ตามบรรทัดฐานกฎหมายไทย)
    3. บทลงโทษ :  OECD ให้ความเห็นว่าโทษปรับเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย ยังถือว่าน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าเป็นการปรับนิติบุคคล ดังนั้น จึงเสนอให้เพิ่มอัตราปรับไม่เกิน 5 ล้านบาทสำหรับบุคคลธรรมดา และไม่เกิน 60 ล้านบาท หรือไม่เกิน 2 เท่าของประโยชน์ที่ได้จากการกระทำความผิดสำหรับนิติบุคคล
    4. การบังคับใช้กฎหมาย : ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่กำหนดฐานความผิดการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ จึงไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนเพื่อดูแลฐานความผิดการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ โดยเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงดำเนินการ
    5. มาตรการเสริมห้ามหักค่าใช้จ่ายทางภาษี : ปัจจุบันตามประมวลรัษฎากรยังไม่ได้กำหนดห้ามชัดเจนไม่ให้หักค่าใช้จ่ายทางภาษีแก่รายการที่เป็นการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดคำนิยามของรายการให้สินบนที่ชัดเจน โดยเฉพาะการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน กับรายการค่ารับรองทั่วไป โดยอาจออกเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี(20) กำหนดไห้ชัดเจน
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA
ชุมพร ปัจจุสานนท์, วิสูตร ตุวยานนท์, ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง, ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์, พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ, อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์, กิตติพงษ์ พงษ์พัทธนคุณ, พาขวัญ นุกูลกิจ และณัฐวดี บุญชื่น. (2555). โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2555
ผู้แต่ง
  • ชุมพร ปัจจุสานนท์
  • วิสูตร ตุวยานนท์
  • ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง
  • ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์
  • พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
  • อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์
  • กิตติพงษ์ พงษ์พัทธนคุณ
  • พาขวัญ นุกูลกิจ
  • ณัฐวดี บุญชื่น
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”