KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I คริปโทเคอร์เรนซี ช่องทางเสี่ยงคอร์รัปชัน

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันเกาหลีใต้เร่งตรวจสอบคริปโทเคอร์เรนซีนักการเมือง

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ACRC (Anti-corruption & Civil Rights Commission) หรือคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต และสิทธิพลเมืองเกาหลีใต้ได้แถลงการณ์ถึงความตั้งใจที่จะตรวจสอบทรัพย์สินดิจิทัลรูปแบบ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ของนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายทุกคน

โดยเหตุผลที่ ACRC หันมาสนใจทรัพย์สินประเภทคริปโทเคอร์เรนซีเป็นผลมาจากข่าวฉาวของ Kim Nam-kuk อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎรพรรค Democratic Party of Korea (DPK) ที่พบว่ามีทรัพย์สินคริปโทเคอร์เรนซีที่ถือครองไว้มีมูลค่ากว่า 6,000 ล้านวอน หรือประมาณ 160 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินจำนวนนี้ไม่มีที่มาที่ไปที่ชัดเจน หรืออาจเข้าข่ายที่เรียกว่าร่ำรวยผิดปกติ โดยคริปโทเคอร์เรนซีเป็นทรัพย์สินดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่พึ่งเริ่มเป็นที่นิยมไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ยังไม่มีการจัดการที่ครอบคลุมและอาจทำให้เกิดช่องว่างในการฟอกเงินหรือการพยายามปิดบังทรัพย์สินได้

Jeon Hyun-heui ประธานคณะกรรมการ ACRC ได้ประกาศว่า ACRC มีความมุ่งมั่นที่จะสอบสวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนอื่น ๆ ด้วยมาตรการเชิงรุก แต่ถึงอย่างนั้นการเปิดข้อมูลทรัพย์สินก็ต้องได้รับความร่วมมือจากนักการเมืองที่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งการเข้าถึงทรัพย์สินประเภทคริปโทเคอร์เรนซียังมีระบบปกปิดข้อมูลส่วนตัวค่อนข้างสูง ทำให้การเปิดข้อมูลในส่วนนี้เป็นเรื่องยาก

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเกาหลีใต้ได้มีการผ่านกฎหมาย “Kim Nam-kuk Prevention Act” ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มีการเปิดข้อมูลทรัพย์สินดิจิทัลประเภทคริปโทเคอร์เรนซีของนักการเมืองและข้าราชการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย และในส่วนของนาย Kim Nam-kuk ปัจจุบันได้ถูกขับออกจากตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรแล้ว และการดำเนินคดีตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการสืบสวนของ ACRC ที่ยังคงต้องติดตามกันต่อไป

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 ชาติ 4 แนวทาง หยุดทุจริตเชิงนโยบาย

เคยได้ยินชื่อของ “คดีทุจริตคลองด่าน” กันไหม ? นี่คือหนึ่งในคดีทุจริตครั้งใหญ่ของประเทศไทยที่สร้างความเสียหายเป็นเงินกว่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งการทุจริตที่ทำกันอย่างเป็นระบบจากคนหลายฝ่าย แบบนี้เราเรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย

KRAC Insight สรุปงานเสวนา | ทำอย่างไรจะช่วยลดการคอร์รัปชันจากช่องว่างของกฎหมาย?

ชวนอ่านสรุป “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หัวข้อ “การประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการคอร์รัปชันในกระบวนการนิติบัญญัติ”

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I เปิดให้โปร่งใส ต้านโกงแบบใหม่ในจอร์เจีย

เนื่องจากการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินทางการเมืองต้องมีความโปร่งใส และเป็นสิ่งที่รัฐบาลจอร์เจียให้ความสำคัญ จึงได้ออกกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ดยมีคำสั่งให้พรรคการเมืองที่ดำเนินกิจการในประเทศ …

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้บนอาจไม่ถูกใจ แต่สินบนถูกใจแน่นอน

สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันคริสต์มาสแด่นักอ่านแนวหน้าทุกท่าน ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ ผู้เขียนขอมอบเพลง Santa Doesn’t Know You Like I Do ของ Sabrina Carpenter เพื่อเป็นหนึ่งในเพลงที่เหมาะสำหรับการฟังในช่วงเวลาพิเศษนี้ เนื้อเพลงได้สื่อถึงความรักของคนคนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาของคนรักได้โดยไม่ต้องพึ่งคุณพ่อฤดูหนาวหรือซานต้า เพราะซานต้านั้นไม่ได้รู้จักตัวตนของเราดีไปกว่าคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้