KRAC The Experience | EP 6: Academic driven The Anti-Corruption

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า “นอกจากภาครัฐและประชาชนแล้ว…ใครที่สามารถมีส่วนสำคัญ ในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ ?” ในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลกที่ไม่ได้มีเพียงแค่ภาครัฐเท่านั้นที่ดำเนินการ ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน “Academic driven The Anti-Corruption !”

ความเดิมตอนที่แล้วของ “KRAC The Experience” เราได้พาทุกคนไปสำรวจเมืองและองค์กรที่พัฒนาการศึกษาและต่อต้านคอร์รัปชันไปพร้อม ๆ กัน ด้วย “การใช้ข้อมูลเปิด (Open Data)” จากการเดินทางของ ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) ที่ได้รับทุน Eisenhower Fellowships 2024


การต่อต้านคอร์รัปชันถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและซับซ้อน ดังนั้นเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เราไม่สามารถพึ่งพาภาครัฐเพียงอย่างเดียวได้ เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจทำให้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันเปลี่ยนไปตามทิศทางของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร และ ออกนโยบายในแต่ละยุคสมัย จึงเล็งเห็นว่าอาจต้องให้ภาคส่วนอื่นมาเป็นผู้ ดำเนินการต่อต้านคอร์รัปชัน

ซึ่งก็คือ “ภาควิชาการ” เนื่องด้วยมี “เสรีภาพในการถกเถียง” เพราะพื้นที่ดังกล่าวเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัย สามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption Strategies) ได้อย่างอิสระเสรี นอกจากนี้ ความเป็นอิสระในภาควิชาการยังช่วยให้สามารถถกเถียงในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น แนวโน้มของการคอร์รัปชัน (Corruption Trends) ตลอดจนช่วยให้สามารถพัฒนาแนวทางการรับมือกับการคอร์รัปชันรูปแบบใหม่ ๆ ได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

นอกจากนี้ ภาควิชาการยังสามารถที่จะช่วยในการสื่อสารเกี่ยวกับคอร์รัปชัน (Corruption Communication) ด้วยการให้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและครบถ้วน จากข้อมูลเชิงวิชาการจากงานวิจัยหรือรายงานการประชุมต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาแนวทางในการสื่อสารและนำเสนอข้อมูลให้สามารถเข้าถึงสาธารณะได้ง่ายขึ้น ซึ่งการมีบทบาทของภาควิชาการในลักษณะนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ทั้งนี้การดำเนินการโดยภาควิชาการมี “การรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชันจากหลากหลายมหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความรู้ในวงกว้าง โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชันก็สามารถที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและอัปเดต ประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านการสื่อสารทางอีเมลและการประชุมออนไลน์ที่จะมีการจัดขึ้นเป็นระยะ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันอยู่เสมอระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มาจากหลากหลายสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของการคอร์รัปชันที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา

ที่สำคัญภาควิชาการยังสามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม องค์ความรู้และงานวิจัย ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของนโยบายและแนวทางการป้องกันการคอร์รัปชัน โดยแนวทางดังกล่าวจะไม่เป็นเพียงแค่การสร้างเสรีภาพในการถกเถียง แต่จะนำไปสู่การวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาแนวทางการป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน ในอนาคต และการช่วยพัฒนานโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพ

สำหรับประเทศไทยมีภาคการศึกษาที่ดำเนินการเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันอย่าง “ศูนย์ KRAC” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันในระดับภูมิภาค ที่มีองค์ความรู้และเครือข่ายทำงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล นำไปสู่การประสานและสนับสนุนการทำงานกับเครือข่ายระดับนานาชาติในการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานให้มีความเชี่ยวชาญที่สูงขึ้น สร้างผลผลิตเชิงองค์ความรู้และเผยแพร่สู่สาธา รณะเพื่อขยายผลกระทบทางสังคม ตลอดจนนำองค์ความรู้กลับมาศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือรับมือกับประเด็นสถานการณ์คอร์รัปชันที่เกิดขึ้นภายในสังคมได้อย่างทันท่วงที

โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ภายใต้กลไกสำคัญ 4 ด้าน เพื่อสร้างระบบนิเวศของการต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ

  1. พัฒนาศูนย์กลางความรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน: ศูนย์กลางความรู้ (Knowledge)
  2. พัฒนาและขยายเครือข่ายการต่อต้านคอร์รัปชันกับเครือข่ายระดับนานาชาติ: ศูนย์กลางความร่วมมือ (Network)
  3. พัฒนาระบบสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ เพื่อร่วมต่อต้านการคอร์รัปชัน: ศูนย์กลางการลงมือทำ (Join)
  4. พัฒนาศักยภาพการต่อต้านคอร์รัปชันด้วยการให้บริการกิจกรรมวิชาการ: ศูนย์กลางการเรียนรู้ (Learn)

แนวทางดังกล่าวช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและองค์ความรู้ระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน ที่เป็นการเปิดโอกาสในการถกเถียงอย่างมีเสรีภาพบนฐานองค์ความรู้เชิงวิชาการเกี่ยวกับประเด็นการคอร์รัปชันและแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การดำเนินงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การมีบทบาทของภาคการศึกษาในลักษณะนี้ทำให้เห็นว่า “การต่อต้านคอร์รัปชันสามารถเริ่มต้นและดำเนินงานได้จากภาควิชาการ” เพราะภาควิชาการสามารถสร้างพื้นที่ ในการถกเถียงและแลกเปลี่ยนอย่างมีอิสระบนฐานองค์ความรู้ ตลอดจนการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับลักษณะของการคอร์รัปชันที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ


ในครั้งนี้เราจะเห็นว่า “ภาควิชาการ” สามารถเป็นส่วนสำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ แล้วในตอนถัดไปจะเป็นเรื่องอะไร ? ติดตามต่อได้ใน “KRAC The Experience” ที่ KRAC Corruption เพื่อร่วมเรียนรู้การนำข้อมูลเปิดมาใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชันไปด้วยกัน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
7 ธันวาคม 2567
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption