บทความวิจัย | ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การศึกษาธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรี ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อหาปัจจัยต่อที่มีอิทธิพลต่อธรรมาภิบาลและเสนอกลยุทธ์การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น
 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อธรรมาภิบาล ในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะกลยุทธ์การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น  

 

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและแบบคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณนั้น กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยประกอบด้วยประชากร จำนวน 346 คน ได้แก่ นายกเทศมนตรี จำนวน 20 จังหวัด จำนวน 847 คน พนักงานเทศบาล ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดและผู้รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคล จำนวน 20 จังหวัดโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยการทบทวนวรรณกรรมเอกสารต่าง ๆ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participatory observation) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interviews) ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในเขตเทศบาลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 17 คน  

 

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับธรรมาภิบาลของนายกเทศมนตรีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับปานกลาง 2) กลยุทธ์ในการสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อธรรมาภิบาลประกอบด้วยหลักความรับผิดชอบ หลักยุติธรรม หลักนิติธรรม และหลักความคุ้มค่า เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ 4) ปัญหาการบริหารงานบุคคลมีสาเหตุจากการแสวงหาผลประโยชน์หรือคอร์รัปชัน โดยเฉพาะการทุจริตในการบรรจุแต่งตั้งพนักงานและการช่วยเหลือพวกพ้อง 5) แนวทางการแก้ไขปัญหาประกอบด้วยการเสริมสร้างความรู้และจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต การสร้างคุณธรรมในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานรัฐทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการทุจริตในประชาชน เพื่อร่วมกันป้องกันและสร้างค่านิยมที่เหมาะสมในสังคม

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

เกษศิริญญา บูรณะกิติ. (2560). ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก, 3(2), 133-148.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

เกษศิริญญา บูรณะกิติ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : บทเรียนจากตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในรอบร้อยปีของประเทศไทย ได้สร้างความเสียหายและความสูญเสียในหลายพื้นที่ ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่สูญเสียและทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยครั้งนี้

KRAC Insight | ปฏิรูปวงการพลังงานไทยให้ถึงฝัน ชวนรู้จัก “การแสวงหาค่าเช่า” ในอุตสาหกรรมพลังงานไทย

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเกี่ยวกับโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลังงานไทย และทำความเข้าใจกับค่าเช่าและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การออกแบบแนวทางการปฏิรูปพลังงานที่ความโปร่งใสและยั่งยืนของไทย

KRAC Insight | PEPs: ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ สู่การสร้างข้อมูลเพื่อแก้ไขคอร์รัปชันข้ามชาติ

KRAC ชวนดูข้อเสนอต่อเเนวทางการดำเนินงานตาม PEPs จากทีม Open Data เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ Data standard และตัวอย่างการใช้ชุดข้อมูล PEPs สำหรับสื่อมวลชน