บทความวิจัย | นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย: ศึกษาเชิงวิพากษ์การนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ

การดำเนินนโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประสบผลสำเร็จต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านนโยบาย ทรัพยากร ลักษณะขององค์กรที่นํานโยบายไปปฏิบัติ การติดต่อสื่อสาร กลไกการควบคุมภายใน และนโยบายเพื่อการป้องกันการทุจริต

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสําเร็จในการนํานโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ และแนวทางเพื่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การศึกษาภาคสนาม (Field Study) ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าจากงานเขียน บทความ ข้อมูล หรืองานวิจัยที่อาศัยการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย 

 

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น นโยบายที่ชัดเจน ทรัพยากรที่เพียงพอ ลักษณะขององค์กร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และกลไกการควบคุมภายใน ในขณะที่ปัจจัยที่นำไปสู่ความล้มเหลวประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชนและสื่อมวลชน รวมถึงองค์กรตรวจสอบและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เพื่อให้การป้องกันการทุจริตมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง หน่วยงานภาครัฐควรนำปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งขจัดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวออกไป

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

กานต์ ศรีวิภาสถิตย์. (2557). นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : ศึกษาเชิงวิพากษ์การนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยและสังคมศาสตร์, 2(1), 19.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง

กานต์ ศรีวิภาสถิตย์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

You might also like...

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.