บทความวิจัย | มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต

การฟอกเงินเป็นการดําเนินการของอาชญากรด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทําให้ผลประโยชน์ที่ได้มาจากการกระทําความผิดเปลี่ยนสภาพเป็นผลประโยชน์ที่บุคคลทั่วไปเชื่อว่าได้มาอย่างถูกต้องกฎหมาย ในการเอาผิดผู้กระทำการฟอกเงินต้องพิจารณาความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นที่มีการกําหนดความผิดไว้

 

การศึกษาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเพื่อทบทวนมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการฟอกเงินที่ได้จากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542   

 

ผลการศึกษา พบว่า มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต ยังมีปัญหาบางประการในด้านความไม่ชัดเจนของการกําหนดความผิดเกี่ยวกับการทุจริตตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

 

จึงควรมีการแก้ไขกฎหมายโดยนําแนวทางการกําหนดการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตของต่างประเทศมาปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทย ได้แก่ การกําหนดความผิดที่เกี่ยวกับการกระทําทุจริตให้ชัดเจนในการบังคับใช้และให้ครอบคลุมการทุจริตต่อหน้าที่ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และควรกําหนดกฎกระทรวงที่มีตารางรายชื่อความผิดที่มาจากการกระทําทุจริตทั้งหมดที่ได้เงินหรือทรัพย์สินไว้

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ปัวิช ทัพภวิมล. (2561). มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(2), 8293.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

ปัวิช ทัพภวิมล

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุขและความชุ่มฉ่ำในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ที่เต็มไปด้วยความหมายด้านวัฒนธรรม สังคม วันที่ 13-14 เมษายน ก็ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไทยอีกด้วย โดยตลอดช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากมายได้เดินทางกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปรวมญาติที่ไม่ได้พบกันนาน หรือไปเล่นน้ำคลายร้อนกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)