บทความวิจัย | การต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบการบริหารงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว

การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบการบริหารงานระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว พบว่า โดยเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีการติดตามตรวจสอบผ่าน 3 ส่วนคือ จากผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป และอสต. ขณะที่เทศบาลเมืองบัวขาวมีเพียงการดำเนินการตรวจสอบผ่านประธานชุมชน

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากบทเรียนอาสาสมัครร่วมตรวจสอบการบริหารงานระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว โดยใช้วิธีการศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์และเทศบาลเมืองบัวขาว 

 

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบวิธีการทำงานของอสต. ในการตรวจสอบการทำงานของเทศบาลนั้นจะมีการแบ่งหน้าที่การทำงานในแต่ละส่วนเพื่อทำการตรวจสอบการทำงานของเทศบาล มีการประเมินผลงานของเทศบาล ประเมินผลหน่วยงาน การติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการ ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นและเป็นประเด็นที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุดในการทำงานของอสต. ของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

 

ในการเปรียบเทียบระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว พบว่าเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีการติดตามตรวจสอบผ่าน 3 ส่วนคือ จากผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป และอสต.ขณะที่เทศบาลเมืองบัวขาวนั้นไม่มีอสต.แต่การดำเนินการตรวจสอบผ่านประธานชุมชนทั้งนี้ทั้งสองเทศบาลมีผู้นำชุมชนมีความกระตือรือร้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในช่วงดังกล่าวยังไม่ปรากฏการทุจริตในเทศบาลเมืองทั้งสองแห่ง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

กตัญญู แก้วหานาม และ พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม. 2560. การต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบ การบริหารงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว. Local Administration Journal, 10(2), 17–43.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • กตัญญู แก้วหานาม

  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

“ถึงทุกท่านที่ผ่านมาพบโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าท่านเป็นใคร ข้าขอให้จดหมายฉบับนี้เป็นคำเตือนจากดินแดนมัชฌิมา ดินแดนของข้าที่ความจริงและความลวงถูกพร่ามัวไปด้วยหมอกแห่งอำนาจและความย้อนแย้งได้โปรดพิจารณาจดหมายฉบับนี้อย่างถี่ถ้วน และอย่าได้ซ้ำรอยดินแดนแห่งนี้ด้วยเถิด”

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

KRAC Extract | LGBTQI+ กับคอร์รัปชัน: เมื่อศักดิ์ศรีถูกลดค่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

ชวนเจาะลึกรายงาน “The Impacts of Corruption on LGBTQI+ Rights” ที่เผยให้เห็นว่า การคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันกระทบต่อชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้คน มาร่วมเรียนรู้ว่า เราจะสร้างนโยบายต้านคอร์รัปชันที่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง