บทความวิจัย | การต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบการบริหารงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว

การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบการบริหารงานระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว พบว่า โดยเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีการติดตามตรวจสอบผ่าน 3 ส่วนคือ จากผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป และอสต. ขณะที่เทศบาลเมืองบัวขาวมีเพียงการดำเนินการตรวจสอบผ่านประธานชุมชน

 

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากบทเรียนอาสาสมัครร่วมตรวจสอบการบริหารงานระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว โดยใช้วิธีการศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์และเทศบาลเมืองบัวขาว 

 

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบวิธีการทำงานของอสต. ในการตรวจสอบการทำงานของเทศบาลนั้นจะมีการแบ่งหน้าที่การทำงานในแต่ละส่วนเพื่อทำการตรวจสอบการทำงานของเทศบาล มีการประเมินผลงานของเทศบาล ประเมินผลหน่วยงาน การติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการ ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นและเป็นประเด็นที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุดในการทำงานของอสต. ของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

 

ในการเปรียบเทียบระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว พบว่าเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีการติดตามตรวจสอบผ่าน 3 ส่วนคือ จากผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป และอสต.ขณะที่เทศบาลเมืองบัวขาวนั้นไม่มีอสต.แต่การดำเนินการตรวจสอบผ่านประธานชุมชนทั้งนี้ทั้งสองเทศบาลมีผู้นำชุมชนมีความกระตือรือร้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในช่วงดังกล่าวยังไม่ปรากฏการทุจริตในเทศบาลเมืองทั้งสองแห่ง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

กตัญญู แก้วหานาม และ พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม. 2560. การต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบ การบริหารงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว. Local Administration Journal, 10(2), 17–43.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • กตัญญู แก้วหานาม

  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Insight | PEPs: ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ สู่การสร้างข้อมูลเพื่อแก้ไขคอร์รัปชันข้ามชาติ

KRAC ชวนดูข้อเสนอต่อเเนวทางการดำเนินงานตาม PEPs จากทีม Open Data เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ Data standard และตัวอย่างการใช้ชุดข้อมูล PEPs สำหรับสื่อมวลชน

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : 6 ปี ACT Ai – เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

สองวันมานี้ท่านผู้อ่านทุกท่านคงได้รับฟังเรื่องราวและข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแพทองธาร เรียนทุกท่านตามตรงว่าผมเองก็ยังประมวลข้อมูลยังไม่จบสิ้น เรียกว่ามีทั้งประเด็นเก่าประเด็นใหม่มากมายจาก “ข้อมูล” ที่ฝ่ายค้านเปิดประเด็นทำให้สังคมหันมาสนใจ

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI กลายเป็นคำคุ้นหูที่ท่านผู้อ่านคงได้ยินได้ฟังกันมาบ้าง ทุกวันนี้ AI ถูกใช้อย่างแพร่หลายในแวดวงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา สาธารณสุข หรือการท่องเที่ยว AI กลายเป็นพัฒนาการสำคัญที่ส่งเสริมให้การทำงานหลายอย่างสะดวกขึ้น การแข่งขันทางเทคโนโลยี AI กำลังเข้มข้นมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ เมื่อจีนเปิดตัว DeepSeek สำเร็จ ซึ่งกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ Open AI