บทความวิจัย | แรงผลักดันในการทุจริตของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโลจิสติส์และอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย แต่กลับพบว่ามีความเสี่ยงด้านความโปร่งใสในการดำเนินงานของบุคลากรในองค์กรและความเสี่ยงที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

 

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการทุจริตในองค์กรตามทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริตและทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าวเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างสามเหลี่ยมการทุจริตกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจจากผู้บริหาร พนักงานด้านการเงินและบัญชีของบริษัทในอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 362 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling: SEM) 

 

ผลการศึกษา พบว่า แรงกดดัน โอกาส และการให้เหตุผลเข้าข้างตนเอง เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการทุจริตในองค์กรและมีความสัมพันธ์กันในทางบวก ซึ่งหมายถึงเมื่อมีปัจจัยมากกว่าหนึ่งปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมกันจะยิ่งผลักดันให้เกิดการทุจริต สำหรับแนวทางในการป้องกันการเกิดทุจริตจากปัจจัยทั้งสามสามารถทำได้โดยการสกัดกั้นโอกาสในการทุจริตและลดแรงกดดันในด้านงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งรวมถึงการจัดทำนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหารและการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อปลูกจิตสำนึกในความซื่อสัตย์สุจริต นอกจากนี้ ควรสร้างกลไกการป้องกันการทุจริต โดยผู้บริหารหรือหัวหน้างานควรกำกับดูแลใกล้ชิดให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อลดโอกาสในการกระทำทุจริต

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ธนชาติ เราประเสริฐ. (2565). แรงผลักดันในการทุจริตของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 4555.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

ธนชาติ เราประเสริฐ 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการฟอกเงินผ่านนิติบุคคล และธุรกิจบังหน้า ทนายความและนักบัญชี บริษัทนำเที่ยว ทรัสต์ต่างประเทศที่ดำเนินการในประเทศไทย การเล่นแชร์ที่มีการฉ้อโกงและการฟอกเงินผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร 

เมื่อการฟอกเงินเป็นปัญหาร้ายแรงที่ยังคงแพร่หลายในสังคมไทย การแก้ไขปัญหาจึงต้องลองศึกษาแนวทางที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด

วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุขและความชุ่มฉ่ำในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ที่เต็มไปด้วยความหมายด้านวัฒนธรรม สังคม วันที่ 13-14 เมษายน ก็ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไทยอีกด้วย โดยตลอดช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากมายได้เดินทางกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปรวมญาติที่ไม่ได้พบกันนาน หรือไปเล่นน้ำคลายร้อนกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)