บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทศวรรษหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

ศึกษาสภาพการณ์ของการกระจายอํานาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย เเละวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของการกระจายอํานาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย เเละวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โดยศึกษาวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ กับการปรับบทบาท และอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยทำการศึกษาใน 3 ปรเะด็น ได้เเก่

  1. ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง ที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในทศวรรษหน้า โดยศึกษาสภาพการณ์ เกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังพบปัญหาอยู่หลายประการ
  2. ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
  3. บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทศวรรษหน้า โดยศึกษาถึงกลไกด้านธรรมาภิบาล อันนำมาสู่การปฏิรูประบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และมุ่งสร้างโมเดลองกค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นธรรมาภิบาล

ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยนี้ นำไปกำหนดทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการกระจายอำนาจ และการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดการบริหารราชการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม และตอบสนองความผาสุกของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • จากการศึกษาบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สะท้อนสภาพปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 ด้าน สรุปได้ ดังนี้ (1) โครงสร้างการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (2) อำนาจหน้าที่และการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (4) การคลังส่วนท้องถิ่น และการกำกับดูแลการตรวจสอบ และ (5) การมีส่วนร่วมของประชาชน
  • จากการศึกษาถึงสถานะของหลักธรรมาภิบาลในระบบกฎหมายไทย ซึ่งปรากฏอยู่ใน “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ยังขาดสภาพบังคับ แต่พบว่ามีการนําหลักธรรมาภิบาลไปเชื่อมโยงกับระบบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดิน ซึ่งสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของหน่วยรับตรวจ ด้วยเหตุนี้ การจะทําให้หลักธรรมาภิบาลมีสภาพบังคับ จึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับการใช้จ่ายเงินของเเผ่นดิน 
  • จากเวทีการประชุมหารือกับประชาชนในการจัดทํางบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีข้อสรุปว่าควรคำนึงถึงหลักการสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) ควรมีโครงสร้างถาวรที่ให้พื้นที่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน (2) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรมีความต่อเนื่อง และมีการกําหนดระยะเวลาที่ชัดเจน (3) ควรมีฐานงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ได้ นอกจากนั้น ควรพัฒนาให้เกิดเวทีในระดับจังหวัด (สภาประชาชนระดับจังหวัด) เพื่อเป็นเวทีกลางในการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในเวทีเรื่องการจัดสรรงบประมาณ
  • คณะผู้วิจัย จัดทำข้อเสนอแนะในการปรับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทศวรรษหน้า สรุปได้ ดังนี้ (1) สร้างความเป็นเอกภาพในการบริหารในระดับจังหวัด โดยให้มีคณะกรรมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ปรับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการดูแลคุณภาพชีวิตของบุคคล และบทบาทในด้านสังคมเป็นด้านหลัก (3) บูรณาการในการจัดองค์กรร่วมกันในรูปแบบของคณะกรรมการ ให้มีบทบาทในคณะกรรมการผังเมืองทุกระดับ (4) ปรับองค์กรส่วนท้องถิ่นให้มีขนาดเล็กลง (5) มีการจัดทำงบประมาณ และการใช้งบประมาณขององค์กรให้สามารถตอบสนองความต้องการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) ควรมีระบบการตรวจสอบทางการเงินแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวพันกับการใช้อำนาจหน้าที่ ควรมีคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทเป็นผู้ชี้ขาด 
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

บรรเจิด สิงคะเนติ, พัชรวรรณ นุชประยูร, ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์, วัชรชัย จิรจินดากุล, ดารุณี พุ่มแก, วศิน โกมุท และศักดิ์ณรงค์ มงคล. (2562). บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทศวรรษหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • บรรเจิด สิงคะเนติ 
  • พัชรวรรณ นุชประยูร
  • ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์
  • วัชรชัย จิรจินดากุล
  • ดารุณี พุ่มแก
  • วศิน โกมุท
  • ศักดิ์ณรงค์ มงคล
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”