ปลูกฝัง “ค่านิยม” สร้างสังคมต่อต้านคอร์รัปชัน

การปลูกฝังค่านิยมต่อต้านการคอร์รัปชัน และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน ถือเป็นกลไกในการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันที่สำคัญประการหนึ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ดังนั้น การมีรูปแบบการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติที่เชื่อมโยงปัญหาการคอร์รัปชันให้เป็นเรื่องใกล้ตัว และการสนับสนุนให้นักเรียนได้ทดลองใช้เครื่องมือต่อต้านการคอร์รัปชัน จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้กระบวนการปลูกฝังค่านิยมในการต่อต้านคอร์รัปชันเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสังคมที่ประชาชนร่วมมือกันในการต่อต้านคอร์รัปชัน

การปลูกฝังค่านิยมต่อต้านการคอร์รัปชัน และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน ถือเป็นกลไกในการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันที่สำคัญประการหนึ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมให้ตระหนักถึงปัญหาและเข้าร่วมการต่อต้านคอร์รัปชันตั้งแต่เนิ่น ๆ

ดังที่เห็นได้จากในหลายประเทศทั่วโลกที่มุ่งเน้นผลักดันและส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน และร่วมลงมือปฏิบัติผ่านโครงการต่อต้านการคอร์รัปชันในโรงเรียนและในชุมชนของตนเอง ทั้งในรูปแบบของการลงมือปฏิบัติผ่านโครงการ หรือกิจกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชันที่ดำเนินการจริงในโรงเรียน หรือภายในชุมชนของตนเอง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาเป็นอาสาสมัครในกลุ่มทำงานต่อต้านคอร์รัปชันตามประเด็นที่สนใจ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ล้วนเป็นการขยายขอบเขตกระบวนการเรียนรู้ด้านการต่อต้านการคอร์รัปชันที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน และสามารถกระตุ้นให้นักเรียนวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหาการคอร์รัปชันได้ด้วยตัวเอง ผ่านการลงมือปฏิบัติจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้กับการต่อต้านการคอร์รัปชันในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน

สำหรับประเทศไทย กระบวนการเรียนรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชันโดยส่วนใหญ่ จะเป็นการมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ในห้องเรียนตามหลักสูตรเป็นหลัก โดยมีจุดเน้นสำคัญในการเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนรู้เข้ากับการปลูกฝังผู้เรียนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม และมีจริยธรรม รวมถึงมีกิจกรรมที่ปลูกฝังการเรียนรู้เรื่องของการต่อต้านการคอร์รัปชันตามแนวคิดที่เชื่อมโยงกับความซื่อสัตย์สุจริต และการมีจิตสาธารณะ อย่างไรก็ดี การปลูกฝังเรื่องคอร์รัปชันในมิติของสังคมศาสตร์ (Social Science) เพียงมิติเดียว อาจจะไม่สามารถนำไปสู่แนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิตประจำวันได้ ทำให้กระบวนการปลูกฝังค่านิยมต่อต้านการคอร์รัปชัน จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อหาและการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไปตามช่วงวัย เพื่อให้เหมาะสมกับความสนใจและการเรียนรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและถกเถียงกัน โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผลกระทบจากการคอร์รัปชันที่เชื่อมโยงกับเรื่องใกล้ตัวและลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากการลุกขึ้นมาต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งจะกลายเป็นการเรียนรู้สำคัญที่ช่วยปลูกฝังค่านิยมต่อต้านการคอร์รัปชันให้กับคนในสังคมที่มีประสิทธิภาพ

กล่าวโดยสรุปแล้ว การมีรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย และมุ่งเน้นให้เกิดการลงมือปฏิบัติของนักเรียน เพื่อเชื่อมโยงปัญหาการคอร์รัปชันให้เป็นเรื่องใกล้ตัว รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ หรือภาคประชาสังคมในการสนับสนุนให้นักเรียนได้ทดลองใช้เครื่องมือต่อต้านการคอร์รัปชันควบคู่ไปกับการเรียนในห้องเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนมีความครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และเกิดการบูรณาการความร่วมมือของหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาเป็นสื่อการสอนที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กระบวนการปลูกฝังค่านิยมในการต่อต้านคอร์รัปชันเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสังคมที่ประชาชนร่วมมือกันในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้การร่วมมือต่อต้านคอร์รัปชันในไทยไม่ได้ผล

ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การสร้างความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านแรงจูงใจ ด้านกลไกระหว่างองค์กร และด้านบุคคล …

แล้วที่ผ่านมาเราต่อต้านคอร์รัปชันกันยังไง

“คอร์รัปชัน” และ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” ได้ถูกศึกษาและอธิบายถึงลักษณะและความหมายในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านประเด็นและมุมมองที่มีต่อปัญหาผ่านแนวคิดที่หลากหลาย …

ออกแบบเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชันให้เท่าทันการโกง

ในการพัฒนาและออกแบบเครื่องมือต่อต้านการคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ …

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้บนอาจไม่ถูกใจ แต่สินบนถูกใจแน่นอน

สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันคริสต์มาสแด่นักอ่านแนวหน้าทุกท่าน ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ ผู้เขียนขอมอบเพลง Santa Doesn’t Know You Like I Do ของ Sabrina Carpenter เพื่อเป็นหนึ่งในเพลงที่เหมาะสำหรับการฟังในช่วงเวลาพิเศษนี้ เนื้อเพลงได้สื่อถึงความรักของคนคนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาของคนรักได้โดยไม่ต้องพึ่งคุณพ่อฤดูหนาวหรือซานต้า เพราะซานต้านั้นไม่ได้รู้จักตัวตนของเราดีไปกว่าคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้