“ป้องกัน” และ “ปราบปราม” ในนิยามของการต่อต้านคอร์รัปชันไทย

การ “ป้องกัน” และ “ปราบปราม” ปัญหาคอร์รัปชัน ทั้งในรูปแบบที่เป็นการร่วมกันต่อต้านคอร์รัปชันของหลายหน่วยงาน และการรวมศูนย์หน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันเข้ามาไว้ในโครงสร้างเดียวกัน เป็นวิธีการสำคัญในการวางรากฐานของการที่แต่ละภาคส่วนในสังคมจะได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีความพยายามในการดำเนินการตามแนวทางของการพัฒนาองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อยกระดับการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผล โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเช่นเดียวกัน

ปัญหาการคอร์รัปชัน ได้สร้างความตระหนักและความต้องการในการจัดการแก้ไขปัญหาทั่วโลก และนำมาสู่การก่อตั้งหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกในการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการดำเนินการ “ป้องกัน” และ “ปราบปราม” ในหลากหลายประเทศ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีลักษณะเชิงโครงสร้างและรูปแบบวิธีการในการจัดการปัญหาที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบริบทสังคม โดยเฉพาะในด้านบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ประกอบด้วย

รูปแบบแรก เป็นลักษณะของการร่วมกันต่อต้านคอร์รัปชันของหลายหน่วยงาน (Multiple-Agency Model) แต่ไม่มีหน่วยงานใดได้รับอำนาจหน้าที่ในการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นการเฉพาะ โดยมีประเทศที่ใช้รูปแบบนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จากการก่อตั้งหน่วยงานร่วมที่ชื่อ Office of Government Ethics (OGE) และ Department of Justice (DOJ) เป็นต้น และ รูปแบบที่สอง เป็นหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันที่ก่อตั้งขึ้นจากการรวมศูนย์ โดยดึงเอาทรัพยากรทางความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเข้ามาไว้ในโครงสร้างเดียวกัน (Single-Agency Model) ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่เฉพาะเจาะจงที่ชัดเจนและมีอำนาจในการดำเนินงานมากกว่าหน่วยงานในรูปแบบแรก และลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการต้องประสานงานร่วมกันของหลายหน่วยงานที่มีความแตกต่างกัน เช่น ประเทศสิงคโปร์ จากการก่อตั้งหน่วยงาน Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย ในช่วงแรกภาครัฐได้มีการใช้ระบบกระบวนการทางกฎหมายทั่วไปในการดำเนินคดีกับกรณีทุจริต โดยไม่ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยตรง ก่อนที่ในช่วงเวลาต่อมาจะได้มีการปรับมาเป็นการยึดรูปแบบหน่วยงานเดี่ยว (Single-Agency Model) เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันโดยเฉพาะเป็นครั้งแรก จากการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาสอบสวนข้าราชการ และพนักงานเทศบาลผู้ประพฤติผิดวินัย หรือหย่อนความสามารถตามพระราชบัญญัติกำหนดวิธีพิจารณาข้าราชการและพนักงานเทศบาลผู้ประพฤติผิดวินัย หรือหย่อนความสามารถ พ.ศ. 2488 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการมีหน่วยงานในการต่อต้านการคอร์รัปชันในประเทศไทย

ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2518 จะได้มีการตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ และนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) ที่ขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงราชการ แต่ก็ประสบปัญหาในด้านโครงสร้างองค์กรที่ขาดความเป็นอิสระ จึงนำมาสู่การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ที่มีโครงสร้างองค์กรที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร และมีอำนาจกว้างขวางกว่าหน่วยงานเดิม รวมถึงยังได้จัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาหลายองค์กร เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วยเครื่องมือและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นต้น

รวมถึงในภาคเอกชนและภาคประชาชน ที่ได้มีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ในปี พ.ศ. 2543 และภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT และองค์กรอื่น ๆ ที่มีพันธกิจโดยตรงและเกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทยกว่า 30 หน่วยงาน ในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่า หน่วยงานและองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันได้มีการวางรากฐานและถูกพัฒนาขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว จากการที่แต่ละภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นภาพสะท้อนที่สำคัญของความพยายามของประเทศไทยในการจัดตั้งหน่วยงานและองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการคอร์รัปชัน ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายที่มีความพร้อมด้านองค์ความรู้และเครื่องมือในการป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน อันจะนำไปสู่การสร้างกลไกการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผล โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้การร่วมมือต่อต้านคอร์รัปชันในไทยไม่ได้ผล

ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การสร้างความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านแรงจูงใจ ด้านกลไกระหว่างองค์กร และด้านบุคคล …

แล้วที่ผ่านมาเราต่อต้านคอร์รัปชันกันยังไง

“คอร์รัปชัน” และ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” ได้ถูกศึกษาและอธิบายถึงลักษณะและความหมายในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านประเด็นและมุมมองที่มีต่อปัญหาผ่านแนวคิดที่หลากหลาย …

ออกแบบเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชันให้เท่าทันการโกง

ในการพัฒนาและออกแบบเครื่องมือต่อต้านการคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ …

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้บนอาจไม่ถูกใจ แต่สินบนถูกใจแน่นอน

สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันคริสต์มาสแด่นักอ่านแนวหน้าทุกท่าน ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ ผู้เขียนขอมอบเพลง Santa Doesn’t Know You Like I Do ของ Sabrina Carpenter เพื่อเป็นหนึ่งในเพลงที่เหมาะสำหรับการฟังในช่วงเวลาพิเศษนี้ เนื้อเพลงได้สื่อถึงความรักของคนคนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาของคนรักได้โดยไม่ต้องพึ่งคุณพ่อฤดูหนาวหรือซานต้า เพราะซานต้านั้นไม่ได้รู้จักตัวตนของเราดีไปกว่าคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้