พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ศึกษาพัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 103/7 วรรคแรกและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

งานวิจัยเรื่องนี้ ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสําคัญของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 103/7 วรรคแรก และวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เช่น รายงานการประชุม การตอบข้อหารือจากหน่วยงาน ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึงร่างกฎหมายที่มีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยเน้นศึกษาพัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งพัฒนาการสําคัญของกฎหมายป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ที่ความพยายามในการบัญญัติมาตรา 103/7 วรรคแรกและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

คณะผู้วิจัย จึงแบ่งการนําเสนอข้อมูล ออกเป็น 2 ส่วน เพื่อประโยชน์ในการศึกษา คือ ส่วนแรก เป็นการศึกษาความเป็นมาของมาตรา 103/7 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 สําหรับส่วนที่สอง เป็นการศึกษาความเป็นมาของมาตรา 103/7 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

จากผลการศึกษา สรุปได้ว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของการทุจริตคอร์รัปชัน เกิดจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่แม้จะมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ไม่สามารถทำให้การทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐน้อยลงไปได้ ผลจากการศึกษา ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อทำให้ทราบถึงความเป็นมา กระบวนการและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติกฎหมายในการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่กำหนดไว้ในมาตรา 103/7 ววรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การศึกษาวิจัยและการจัดทำข้อเสนอแนะเรื่องระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

นันทวัฒน์ บรมานันท์, ประทีป คงสนิท, วรรณภา ติระสังขะ, อรรถสิทธิ์ กันมล และวรัญญา ทัศนีศรีวงศ์. (2555). พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2555
ผู้แต่ง
  • นันทวัฒน์ บรมานันท์
  • ประทีป คงสนิท
  • วรรณภา ติระสังขะ
  • อรรถสิทธิ์ กันมล
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

You might also like...

บทความวิจัย : การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

“ถ้ารัฐบาลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นโกง ก็ปฏิวัติเสียดีกว่า เอาคนดีมาจัดการนักการเมืองโกง” วาทกรรมที่คุ้นหูนี้สะท้อนความคิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ การรัฐประหารที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศไทย กลับไม่เคยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน ตรงกันข้าม ปัญหากลับทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่าการใช้อำนาจเผด็จการเด็ดขาดไม่ใช่คำตอบ แต่กลับเป็นการให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริงผ่านระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต่างหาก

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : #JUSTICE_FOR_SEUNGHAN ส่องวิกฤติบริษัทที่ว่าด้วยศรัทธาสาธารณะ และภาพมายาความเป็นเจ้าของชีวิต ‘ไอดอล’ ของแฟนคลับ

ปรากฏการณ์สำคัญที่กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การที่บริษัทค่ายเพลงขนาดใหญ่อย่าง SM Entertainment ได้ออกแถลงการณ์ว่า ‘ฮง ซึงฮัน’ (Hong Seunghan) หนึ่งในสมาชิกของวง ‘RIIZE’ (ไรซ์) ซึ่งถูกพักงานและระงับการเข้าร่วมกิจกรรมของวงเป็นการชั่วคราวเมื่อปีที่ผ่านมา