แนวทางการประยุกต์มาตรการสากลเพื่อการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย

ศึกษาการประยุกต์มาตรการสากลในบริบทของประเทศไทย โดยพิจารณาในส่วนขององค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้กับการคอร์รัปชันของประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดของโลก ได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งเน้นการวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้กับการคอร์รัปชันในประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ามีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดของโลกและแถบเอเชีย ได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

จากวิธีการศึกษา ทำให้เห็นถึงแนวทางและวิธีการดำเนินการประยุกต์นำเอามาตรการสากลมาใช้ในประเทศไทยได้เป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่ มาตรการเชิงสนับสนุ มาตรการเชิงป้องกัน และ มาตรการเชิงปราบปราม โดยในแต่ละหมวด สามารถแบ่งได้เป็นหมวดของมาตรการย่อย ๆ ซึ่งแม้แต่ละมาตรการจะมีแนวทาง และการดำเนินงานที่เป็นของตัวเองในระดับหนึ่ง แต่ก็สามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มาตรการเหล่านี้ แม้จะนำมาจากมาตรการขององค์กรระหว่างประเทศ และจากกรณีศึกษาของประเทศที่มีการทุจริตต่ำ แต่ก็ได้ผ่านการวิเคราะห์ เพื่อที่จะนำมาใช้ในสังคมไทย โดยจะนำเสนอเป็นหลักเหตุผลของแนวทางและวิธีการดำเนินงานของมาตรการต่าง ๆ ต่อไป

ผลจากการศึกษาออกมาในลักษณะของข้อเสนอ 8 มาตรการ ดังนี้ (1) มาตรการการจัดทำการสำรวจทัศนคติ (2) มาตรการการศึกษาและฝึกอบรม (3) มาตรการสร้างเครือข่าย (4) มาตรการสร้างความโปร่งใสกับสื่อ (5) มาตรการปราบปรามแบบเชือดไก่ให้ลิงดู (6) มาตรการการคุ้มครองและให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแส (7) มาตรการการประมวลจริยธรรม  และ (8) มาตรการการป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2553) แนวทางการประยุกต์มาตรการสากลเพื่อการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2553
ผู้แต่ง

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

“ถึงทุกท่านที่ผ่านมาพบโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าท่านเป็นใคร ข้าขอให้จดหมายฉบับนี้เป็นคำเตือนจากดินแดนมัชฌิมา ดินแดนของข้าที่ความจริงและความลวงถูกพร่ามัวไปด้วยหมอกแห่งอำนาจและความย้อนแย้งได้โปรดพิจารณาจดหมายฉบับนี้อย่างถี่ถ้วน และอย่าได้ซ้ำรอยดินแดนแห่งนี้ด้วยเถิด”

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

KRAC Extract | LGBTQI+ กับคอร์รัปชัน: เมื่อศักดิ์ศรีถูกลดค่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

ชวนเจาะลึกรายงาน “The Impacts of Corruption on LGBTQI+ Rights” ที่เผยให้เห็นว่า การคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันกระทบต่อชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้คน มาร่วมเรียนรู้ว่า เราจะสร้างนโยบายต้านคอร์รัปชันที่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง