แพลตฟอร์ม ACT Ai Politics Data ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลความโปร่งใสของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ

เพราะการเปิดข้อมูลของภาครัฐยังมีช่องโหว่ จึงต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วยปลายนิ้วของทุกคน

ที่มาภาพ : ACT Ai Politics Data

ACT Ai Politics Data คือ ฐานข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูงที่แสดงผลในรูปแบบประวัติบุคคล (Profiling) จากการเชื่อมโยงข้อมูลเปิดภาครัฐ ประกอบด้วย ชุดข้อมูลบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ข้อมูลการบริจาคเงินพรรคการเมือง ข้อมูลการดำรงตำแหน่ง ข้อมูลคดีความ และความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการบริหารราชการภาครัฐ ความโปร่งใสในกระบวนการทางการเมือง และเป็นแหล่งข้อมูลที่อำนวยความสะดวกให้ทุกภาคส่วนในสังคม สามารถใช้ข้อมูลเปิด (Open Data) ในการสืบค้น ติดตาม และตรวจสอบข้อมูลได้โดยง่าย 

ที่มาภาพ : ACT Ai Politics Data

ACT Ai Politics Data จึงเป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาและตรวจสอบข้อมูลความโปร่งใสของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถค้นหา และตรวจสอบข้อมูลได้โดยง่าย เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง และผลประโยชน์ของส่วนรวมร่วมกัน โดย ACT Ai Politics Data มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • แสดงผลข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย 
  • แสดงข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้จากการวิเคราะห์ (Key Finding) 
  • สามารถติดตามข้อมูลย้อนหลังและเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างช่วงเวลา เพื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงที่อาจนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตจากข้อมูลที่มี
  • สามารถสืบค้น ตรวจสอบข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)

นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถช่วยสร้างฐานข้อมูลนี้ได้ด้วยการช่วยแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จริงในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อสร้างความโปร่งใสทางการเมือง (Political Transparency) ของ ACT Ai ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://app.appsmith.com/app/act-data-entry/login-64c782151e45e00875a47a2b?branch=develop

แชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลนักการเมือง เพื่อสร้างความโปร่งใสทางการเมือง (Political Transparency) ไปกับ ACT Ai 

🚩ACT Ai Politics Data
ประเทศ : ไทย
ผู้จัดทำเครื่องมือ : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) HAND Social Enterprise PUNCH UP และ Boonme Lab
ติดตามข่าวสารได้ที่ :
Facebook องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน และ KRAC Corruption หรือ #อาสาพากรอก 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

แพลตฟอร์ม ACT Ai Politics Data ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลความโปร่งใสของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ

เพราะการเปิดข้อมูลของภาครัฐยังมีช่องโหว่ จึงต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วยปลายนิ้วของทุกคน

งบโปร่งใส ส.ส. ตรวจสอบได้ Statsregnskapet

ข้ามมาอีกทวีปหนึ่งกันบ้าง กับไอเดียใช้ข้อมูลจับตาโปร่งใสของภาครัฐ กับประเทศสแกนดิเนเวียที่ขึ้นชื่อว่าโปร่งใส ไร้คอร์รัปชันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เราจะขอยกตัวอย่างเทคโนโลยี Open data ที่ชาวนอร์เวย์ใช้กันในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล อย่างเว็บไซต์ Statsregnskapet

MAMPRAWOWIEDZIEC.PL เปิดข้อมูลประวัติการทำงานนักการเมือง

จะเลือกตั้งแต่ละที นักการเมืองคนนี้เก่งจริงหรือเปล่า เราจะรู้ได้ยังไง ? น่าจะดีถ้าเราสามารถย้อนดูได้ว่านักการเมืองแต่ละคนมีผลงานเป็นอย่างไร เพราะแค่นโยบายบนป้ายหาเสียงคงไม่พอ

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้บนอาจไม่ถูกใจ แต่สินบนถูกใจแน่นอน

สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันคริสต์มาสแด่นักอ่านแนวหน้าทุกท่าน ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ ผู้เขียนขอมอบเพลง Santa Doesn’t Know You Like I Do ของ Sabrina Carpenter เพื่อเป็นหนึ่งในเพลงที่เหมาะสำหรับการฟังในช่วงเวลาพิเศษนี้ เนื้อเพลงได้สื่อถึงความรักของคนคนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาของคนรักได้โดยไม่ต้องพึ่งคุณพ่อฤดูหนาวหรือซานต้า เพราะซานต้านั้นไม่ได้รู้จักตัวตนของเราดีไปกว่าคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้