โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองของไทยในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตของเจ้าหน้าที่รัฐ

เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกใบอนุญาต ซึ่งเป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่อาจก่อให้เกิดความเดือนร้อนเสียหายต่อสังคม หรือเศรษฐกิจของรัฐให้เป็นไปโดยถูกต้อง แต่กลับพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจดังกล่าวไปในทางที่มิชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตนั้นอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีกฎหมายเป็นจำนวนมากที่บังคับใช้เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในลักษณะดังกล่าว ทำให้การแสวงหาผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เกิดจากการพิจารณาอนุญาตยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองของไทยในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตของเจ้าหน้าที่รัฐ

โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสารเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการอนุญาต และกลไกการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจดังกล่าวทั้งของไทยและต่างประเทศ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการเชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการ และการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นสาธารณะ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจาการศึกษา พบว่าแม้จะมีกฎหมายหลายฉบับที่บังคับใช้เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตของเจ้าหน้าที่รัฐได้ เพราะกฎหมายที่ให้อำนาจในการพิจารณาอนุญาต มีถ้อยบัญญัติบางส่วนให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างกว้างขวางมาก เพราะเหตุที่ผู้บัญญัติกฎหมายมีความประสงค์จะให้เกิดความครอบคลุม และไม่ให้เกิดอุปสรรคในการใช้กฎหมายบังคับเป็นรายกรณี ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้การใช้อำนาจตามอำเภอใจ เพื่อพิจารณาอนุญาตมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้อย่างมาก นอกจากนี้ ศาลปกครองไทยในปัจจุบัน มักจะไม่เข้าไปก้าวล่วงการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ หรือหากกรณีที่ถูกศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ก็เพียงแค่ทำคำสั่งใหม่ให้ถูกต้อง แต่ไม่มีโทษทางวินัย ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่เกรงกลัวต่อสภาพบังคับในทางปกครอง 
  • จากสาเหตุดังกล่าว จึงทำให้การแสวงหาผลประโยชน์ยังคงมีอยู่ แม้กระทั่งในกรณีที่ผู้ประกอบการขออนุญาตถูกต้องทุกประการ ซึ่งทำให้การรับผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบ เกิดขึ้นอยู่ไม่ขาดสายในรูปของสินน้ำใจ เป็นต้น และยังพบอีกว่าการให้ผลประโยชน์ในปัจจุบัน มีการพัฒนาจากการให้เงินสินบนกันโดยตรง เป็นการให้ประโยชน์อย่างอื่นทั้งที่คำนวณเป็นตัวเงินได้ (เช่น การให้ใช้บริการในกิจการค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย) และที่ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ (เช่นการพาสาวสวยไปให้เจ้าหน้าที่ร่วมหลับนอนด้วย) นอกจากนี้ยังมีการใช้วิธีที่แนบเนียนกว่าเดิม เช่น อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงมาเป็นที่ปรึกษา และโน้มน้าวเจ้าหน้าที่ ซึ่งเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการที่ว่าจ้าง
  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา สรุปได้ ดังนี้ (1) มิติกฎหมายปกครอง เช่น แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการอนุญาต ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 77 พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มาตรา 6 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 มาตรา 8 (5) (2) มิติกฎหมายอาญาและวินัย เช่น แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ตลอดจนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. …. โดยกำหนดให้การให้สินบนเพื่อจูงใจเจ้าหน้าที่ให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะชอบ หรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ ให้เป็นความผิดทุกกรณี (3) มิติเรื่องความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เช่น หน่วยงานควรนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนของการอนุญาต โดยให้ประชาชน หรือผู้ประกอบการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่อนุญาตน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 หรือนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการมุ่งไปสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

คณพล จันทน์หอม, โชติกา วิทยาวรากุล, ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท และปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ . (2560). โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • คณพล จันทน์หอม
  • โชติกา วิทยาวรากุล
  • ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
  • กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท
  • ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ 
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด

วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

You might also like...

บทความวิจัย : ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทย ในระยะเปลี่ยนผ่าน

ทำความเข้าใจทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองในการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ประชาชนเห็นชอบต่อการจัดตั้งรัฐบาลทหารเพื่อปฏิรูปประเทศ ขณะที่พรรคการเมืองเชื่อว่าพลังในการปฏิรูปมาจากประชาชน

บทความวิจัย : การประเมิน “เครื่องมือประเมิน” พิชิตความโกงของ ป.ป.ช. กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย

เมื่อการประเมิน ITA ถูกประเมินเสียเอง พบว่า เครื่องมือประเมินคุณธรรมความโปร่งใสของ ป.ป.ช. ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐได้ (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย)