รวบรวม เชื่อมโยง และเปิดเผยข้อมูลสาธารณะที่มีความสำคัญต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ของสาธารณะในการสร้างความโปร่งใสในสังคม
รู้จัก ACT Ai Open Data Center
ฐานข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (ACT Ai Open Data Center) โดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการขับเคลื่อนพลังสังคมเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ด้วยการประมวลชุดข้อมูลที่สำคัญเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันจากเครื่องมือสู้โกง ACT Ai
ที่มาของ ACT Ai Open Data Center
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ หรือ ACT ให้ความสำคัญกับการรวบรวม เชื่อมโยง และเปิดเผยข้อมูลสาธารณะที่มีความสำคัญต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายและแนวทางต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
จุดประสงค์ของ ACT Ai Open Data Center
เปิดเผยข้อมูลสาธารณะเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส และอำนวยความสะดวกให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลนี้ เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันได้โดยสะดวก รวดเร็ว ตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลสากล ในรูปแบบดิจิทัลที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ (Machine-readable)
รวบรวม เชื่อมโยง และเปิดเผยชุดข้อมูลที่วิเคราะห์โดยระบบ ACT Ai จากข้อมูลเปิดสาธารณะ 12 ชุดข้อมูล ดังนี้
- ข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จากระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และ ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ “ภาษีไปไหน?”
- ข้อมูลนิติบุคคล จากDBD DataWarehouse+
- ข้อมูลบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากระบบการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
- ข้อมูลพรรคการเมืองที่ปรากฎรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 และ รายนามผู้บริจาคให้พรรคการเมือง จากข้อมูลพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ข้อมูลดิจิทัลคำชี้มูลความผิดของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จากเรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด
- ข้อมูลคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/คำพิพากษาคดี
- ข้อมูลรายชื่อผู้บริหารกระทรวงและข้าราชการระดับสูง จากราชกิจจานุเบกษา
- ข้อมูลผู้ทิ้งงาน จากสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.)
- ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จาก เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง
- ข้อมูลโครงการภายใต้พ.ร.ก. กู้เงินฯ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 จากเว็บไซต์ ThaiME โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ข้อมูลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จากระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา (Education Management Information System : EMIS) และ ระบบจัดเก็บข้อมูลสิ่งก่อสร้าง (B-OBEC)
- ข้อมูลเบาะแสทุจริตจากภาคประชาชน จากCorruption Watch
ใครสามารถนำ Open Data ไปใช้ได้บ้าง?
ประเทศ : ไทย
ประเภทเครื่องมือ : Detect Corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
HAND SOCIAL ENTERPRISE
หัวข้อ
เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg
เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN
ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม
USA spending.gov แหล่งข้อมูลเปิดสาธารณะ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรัฐได้ง่าย ๆ
จะดีแค่ไหนถ้าเรามีรัฐที่เปิดเผย เอาเงินไปใช้ทำอะไรก็ติดตามได้ง่ายไปหมด ไม่ต้องเสี่ยงทุจริตให้เป็นข้ออ้างมาทำรัฐประหารบ่อย ๆ